ภาพจำลองหุ่นยนต์สำรวจ Perseverance ที่มีอุปกรณ์ผลิตออกซิเจนติดตั้งอยู่

การทดลองขนาดเล็กขององค์การนาซาเพื่อผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในขั้นแรก โดยอุปกรณ์ทดสอบใช้ทรัพยากรในสถานที่จริง MOXIE ซึ่งติดตั้งอยู่กับหุ่นยนต์สำรวจ “เพอร์เซเวียแรนซ์” (Perseverance rover) สามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนสำหรับหายใจได้รวม 100 นาที หลังจากการทดสอบเดินเครื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง

(จากซ้าย) นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด, นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมงานสัมมนา Shell Forum 2022

บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตอกย้ำความมุ่งมั่นการใช้พลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง เดินหน้าจัดเวทีสัมมนาเพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวโน้มในอนาคตการขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำในงานสัมมนา Shell Forum 2022 ในหัวข้อ “Decarbonization: The Journey Towards Low-Carbon Economy” เพื่อระดมแนวคิด และความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

ภาพจำลองกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “แนนซี เกรซ โรมัน” ที่จะใช้สำรวจพลังงานมืดในอนาคต

โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสำรวจพลังงานมืด (Dark Energy Survey – DES) ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์อีกครั้ง และพบว่าแนวคิดที่มีอายุกว่าร้อยปีนี้ยังคงมีความถูกต้องแม่นยำ ในแง่ที่ว่าค่าความโน้มถ่วง (gravity) คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด นับแต่จักรวาลถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว 13,800 ล้านปีก่อน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมติดตามการดำเนินงานการวิจัย นวัตกรรม ภายใต้กองทุน ววน. เพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ