“วรุณา” เดินหน้า “คุ้งบางกะเจ้า” โมเดลต้นแบบฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยเอไอ

.
เวิร์คชอปใช้งานฐานข้อมูลเชิงลึก เดินหน้าต่อยอดประโยชน์ด้านความยั่งยืนสิ่งแวดล้อมไทย

.
ทุกวันนี้เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เราสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นระบบ และนำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง อย่างการวางแผนฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวที่คุ้งบางกะเจ้า ในโครงการ OUR Khung BangKachao บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า เครื่องมือเทคโนโลยีด้านการสำรวจพื้นที่และวิเคราะห์ด้วย AI ที่ถูกนำมาบูรณาการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีอิทธิพลและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวของไทย และสามารถนำไปพัฒนาในภาคเกษตร เอื้อประโยชน์ในการวางแผนทำงานของภาคเอกชนและการมีส่วนร่วมของชุมชน

วช. หนุนทีมวิจัยจาก ม.อ. ต่อยอดการพัฒนา “เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน” สู่การใช้ประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม ชี้สามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ได้ทุกสภาพพื้นผิว มีความปลอดภัย และช่วยประหยัดงบประมาณ เพราะต้นทุนในการผลิตถูกกว่าการใช้แอลกอฮอล์ 70 % ถึง 140 เท่า

“ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง” เลขานุการ รมว.อว.ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ “กิจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช” พร้อมเปิดโรงอนุบาลต้นพืช วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนสำราญ มีหลากหลายสายพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นพืชเศรษฐกิจ ฮือฮาพัฒนา “แอปเปิล สายพันธุ์ฟูจิ” จากประเทศญี่ปุ่นสำเร็จ ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้รสชาติหวาน เนื้อแน่นจากแปลงปลูก บ้านโนนสำราญ ต.วังไชย อ.บรบือ เตรียมพัฒนาเป็นเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตและแหล่งท่องเที่ยว สั่ง 4 มหาวิทยาลัย “ขอนแก่น - สุรนารี - มหาสารคาม - อุบลฯ” ในอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุน
วันนี้ (19 พ.ค.) รศ.(พิเศษ)ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ดำเนินงานโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเปิดโรงอนุบาลต้นพืช วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนสำราญ ต.วังไชย อ.บรบือ พร้อมกล่าวว่า อว.ให้การสนับสนุนศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชที่ดำเนินการโดยบริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผ่านกลไกการบ่มเพาะของอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหลากหลายสายพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นพืชเศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้พืชจำนวนมาก ภายในระยะเวลาอันสั้น และมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการทั้งของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มพ่อค้าต้นพันธุ์พืชโดยได้ดำเนินกิจการภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดเชื้อที่เกิดจากพืช ทำให้เกษตรกรได้รับพืชพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพ บริษัทยังได้คิดค้นการนำนวัตกรรมมาใช้กับพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยคิดค้นสารเคมีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้เนื้อแข็งให้สามารถแตกยอดและเจริญเติบโตได้ดี และได้ทำการทดลองนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยการนำนุ่นมาทดแทนวุ้นในอาหารสังเคราะห์ในรูปการปลูกพืชที่คล้ายการปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์

ผศ. ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์วิศวกรรมศาสตร์เพื่อคำตอบของสังคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พัฒนา “วัสดุนาโนสีเขียว” เพิ่มคุณค่าจากวัสดุเหลือทิ้งภาคเกษตร เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ นิติวิทยาศาสตร์ พร้อมส่งมอบส่งมอบให้กับสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.ตร.) เพื่อใช้ประโยชน์