Author : นายรักษ์ สุขภาพ, นามแฝง
Sourceวารสาร อพวช.
Abstract : อาหารทุกวันนี้มีหลากหลายรสชาติ ซึ่งแต่ละรสชาตินั้นหากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมส่งผลต่อสุขภาพ เช่น รสเค็ม จะส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำงานหนักขึ้นจนเป็นโรคไตวายเรื้อรัง หัวใจทำงานหนักขึ้นเสี่ยงต่อหัวใจวาย หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองแตก หรือกลายเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต รวมทั้งโรคมะเร็ง กระเพาะอาหาร เกิดอาการบวม ริดสีดวง ไมเกรน และภาวะกระดูกพรุนได้ รสหวานทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รสเปรี้ยว หากบริโภคความเปรี้ยวที่มาจากสารสังเคราะห์อย่างน้ำส้มสายชูมากเกินไป จะส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องเสีย ร้อนใน ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา และกระดูกผุกร่อน รสเผ็ด การบริโภครสเผ็ดจัดก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดสิว เพราะความเผ็ดจะทำให้ต่อมไขมันทั่วร่างกายทำงานหนักกว่าปกติทำให้เกิดสิวได้ง่าย นอกจากนี้อาหารรสเผ็ด จำพวกเครื่องแกง มักมีส่วนผสมของเกลือกะปิ ผงชูรส ซึ่งมีโซเดียมอยู่มากจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต และโรคความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย.