English Title : Optimum drying conditions for production of high dietary fiber powder from lime residues
Author : ธนิน สุขผุย
Source : วิทยานิพนธ์. (2005) 66 หน้า
Abstract : The effects of hot air drying conditions on the quality of high dietary fiber powder from lime (Citrus aurantifolia Swing) residues were determined. The results showed that drying temperature in the range of 40-60 ํC had no effect on the composition and hydration properties of the dietary fiber. Fiber powder possessed high total dietary fiber (TDF) and soluble dietary fiber, which were 77.10+-0.44 and 42.15+-1.94%, respectively. No statistically significant differences were also found for the water-holding and swelling capacities of the samples with varying particle size ranges, i.e., 300-450, 250-300 and 150-250 ?m. The effect of drying on the lime pectin was also investigated; drying temperature did not affect the yield of extracted pectin. Pectin yields obtained were higher than 85% (d.b.) with the moisture content of approximately 9% (d.b.). The solubility of pectin was examined at pH 3-7; the solubility increased as the pH increased. The pectin from dietary fiber powder produced at 60 ํC exhibited slightly higher solubility than that obtained when drying at 40 ํC and 50 ํC. The present study suggested that lime residues from Citrus aurantifolia Swing is a potential source of TDF and SDF. Drying at 60 ํC was recommended as a suitable condition for producing good quality dietary fiber powder.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสภาวะอบแห้งที่มีต่อคุณภาพของเส้นใยอาหารผงที่ผลิตจากเศษเหลือทิ้งของมะนาวแป้น จากผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิอบแห้งในช่วง 40-60 องศาเซลเซียส ไม่มีผลต่อองค์ประกอบและสมบัติด้าน Hydration ของเส้นใยอาหาร โดยเส้นใยอาหารผงที่ผลิตได้ประกอบด้วยปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดร้อยละ 77.10?0.44 (ฐานแห้ง) และมีปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ ได้ร้อยละ 42.15?1.94 (ฐานแห้ง) และไม่พบความแตกต่างของค่า Water-holding Capacity และ Swelling Capacity ของเส้นใยอาหารที่มีขนาด แตกต่างกัน คือ ช่วงอนุภาค 300-450, 250-300 และ 150-250 ไมครอน นอกจากนี้ยังพบว่าสภาวะอบแห้งที่ใช้ในการทดลองไม่มีผลต่อปริมาณ ของเพกตินที่สกัดได้ โดยได้ปริมาณเพกตินทั้งหมดร้อยละ 85 (ฐานแห้ง) ที่ความชื้นร้อยละ 9 (ฐานแห้ง) สำหรับการศึกษาค่าการละลายของเพกติน ที่ pH 3-7 พบว่าค่าการละลายของเพกตินสูงขึ้น เมื่อ pH ลดลง อย่างไรก็ตาม เพกตินที่สกัดจากผงเส้นใยอาหารที่ได้จากสภาวะอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มีค่าการละลายสูงกว่าเพกตินที่สกัดได้จากตัวอย่างที่ผ่านการอบแห้งที่ 40 และ 50 องศาเซลเซียส เล็กน้อย ผลการทดลองสรุปว่า เศษเหลือทิ้งจากมะนาวแป้นหลังจากการคั้นน้ำมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งเส้นใยอาหาร และการอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส สามารถใช้ในการอบแห้งเพื่อผลิตเส้นใยอาหารผงที่มีคุณภาพ
Subject : Drying. Lemon. Pectin. การอบแห้ง. มะนาว. เพกทิน. เพกติน.