Author : ทองกร พลอยเพชรา.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว 35, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563) 36-39
Abstract : Plant-based protein หรือโปรตีนจากพืชที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว เห็ด และสาหร่าย รวมถึงผักอีกหลายชนิดที่มีโปรตีนสูง เช่น ปวยเล้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เมล็ดฟักทอง แม้การรับประทานโปรตีนจากพืชจะส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นพวกเมไทโอนีน (methionine) และไลซีน (lysine) เมื่อเทียบกับโปรตีนจากสัตว์ แต่การรับประทานโปรตีนจากพืชจะช่วยลดระดับ LDL (Low density lipoprotein) – cholesterol ดังนั้นการได้รับไลซีนและเมไทโอนีนในระดับต่ำจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่การรับประทานผักอย่างเดียว อาจมีผลเสียในด้านการลดลงของอัตราการสร้างกล้ามเนื้อและมวลกล้ามเนื้อ ต่อมาจึงมีการทำ Plant-based meat หรือ Meat analogue (เนื้อเทียม) ขึ้นมาทดแทนเนื้อสัตว์ โดยอาจใช้โปรตีนจากพืชจำพวกถั่วเหลือง กลูเตน (gluten) หรือ Plan-based derivatives (PBD) ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเนื้อเทียมให้คล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์ และคุณสมบัติของ PBD ยังช่วยในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพได้อีกด้วย.
Subject : พืช. โปรตีนจากพืช. โภชนาการพืช. พืชอาหาร. กรดอะมิโน. กรดอะมิโนในโภชนาการ. อาหาร. ไลซีน. เมไทโอนีน . Lysine. Methionine.