Author : ประมวล ทรายทอง และธํารงศักดิ์ แก้วประดิษฐ์.
Source : อาหาร 50, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 5-13
Abstract : โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ของโคโรน่าไวรัส SARS-CoV-2 เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายซึ่งแพร่กระจายจากคนสู่คนได้โดยการไอจาม การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยต่อสู้กับเชื้อไวรัส เช่น วิตามินซี ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และจำเป็นต่อการพัฒนาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย รับประทานอาหารที่เสริมวิตามินดีและวิตามินอี มีส่วนช่วยในการลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ จากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลให้ประชากร 1 ใน 3 ของโลกอยู่ในช่วงปิดประเทศ ทำให้เกิดการวิตกเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับระบบอาหาร ตั้งแต่การแปรรูป การเตรียม การบริโภค กระทั่งการจัดจำหน่าย ปัจจุบันนักวิจัยกำลังค้นหาแหล่งโปรตีนทางเลือกแหล่งใหม่ๆ ซึ่งโปรตีนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร แหล่งโปรตีนบางชนิดถูกนำมาใช้ทดแทนโปรตีนจากสัตว์เพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ และเนื้อหมู ทำให้แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ๆได้ถูกนำมาใช้ เช่น คิวนัว แมลง สาหร่ายขนาดเล็ก และเนื้อเทียมที่ปลูกในห้องปฏิบัติการภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ ทั้งนี้แหล่งโปรตีนทางเลือกเหล่านี้ยังเป็นแหล่งของส่วนผสมทางชีวภาพที่มีสารออกฤทธิ์ซึ่งผลดีต่อผู้บริโภค เช่น โพลีฟีนอล ฟลาโวนอยด์ กรดไขมัน และวิตามิน ที่สามารถนำมาใช้ในเชิงอาหารเพื่อสุขภาพได้ และนอกจากโปรตีนที่มาจากพืชแล้ว ยังมีโปรตีนจากแหล่งอื่นๆ ที่นำมาใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ คือ โปรตีนจากแมลง เช่น จิ้งหรีด หนอนนก.
Subject : โคโรนา -- ไวรัส. อาหาร.