AuthorMadhvi Bhosale.

SourceFOOD FOCUS THAILAND 14, 154 (Jan. 2019) 22-25

Abstractการบริโภคน้ำมันปรุงอาหารของทั่วโลก มีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น ชนิดของพืชน้ำมันที่ปลูก ราคา ต้นทุนการผลิต ภาษีศุลกากร ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อราคาจำหน่ายของน้ำมันปรุงอาหาร ประเทศจีนเป็นผู้บริโภคพืชน้ำมันและน้ำมันปรุงอาหารมากที่สุดในโลก มีการห้ามใช้น้ำมันปรุงอาหารแบบขายส่ง ในประเทศอินเดีย น้ำมันปาล์มมีการใช้มากในอุตสาหกรรมการบริการอาหารและอุตสาหกรรมน้ำมันเพื่อการบริโภคในอินเดียมีการเปลี่ยนจากน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนไปเป็นน้ำมันรีไฟน์ที่สกัดด้วยตัวทำละลายแทน นอกจากมีการใช้น้ำมันปรุงอาหารในระดับครัวเรือนแล้ว ปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน ผลิตภัณฑ์นมและไอศกรีม เบเกอรี่ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่ใช้ส่วนประกอบที่มีคุณภาพและดีต่อสุขภาพมีบทบาทต่อแนวโน้มการบริโภค ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคน้ำมันปรุงอาหารด้วย.

Subjectน้ำมันปรุงอาหาร. น้ำมันปรุงอาหาร -- แง่โภชนาการ.

Sourceฉลาดซื้อ 25, 216 (ก.พ. 2562) 26-31

Abstractไขมันทรานส์ เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่พบได้ในธรรมชาติ เช่น นม เนย ชีส เนื้อสัตว์ ที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งพบในอาหารที่มีเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ เช่น โดนัททอด คุกกี้ พาย เค้ก เพื่อเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภค โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงทดสอบโดนัทช็อกโกแลต จำนวน 13 ยี่ห้อ เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ สารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก และกรดเบนโซอิก ผลการทดสอบทุกตัวอย่างไม่พบกรดซอร์บิก พบกรดเบนโซอิกปริมาณเล็กน้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง และโดนัททุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก

Subjectกรดไขมันทรานส์. วัตถุกันเสีย. ช็อกโกแลต.

Sourceฉลาดซื้อ 25, 216 (ก.พ. 2562) 32-39

Abstractเค้กเป็นกลุ่มอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้เก็บตัวอย่างเค้กชิฟฟ่อน จำนวน 4 ตัวอย่าง และเค้กเนย จำนวน 12 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบปริมาณไขมันทรานส์และสารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก โดยผลการทดสอบพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ ทั้ง 16 ตัวอย่าง มีปริมาณเฉลี่ย 0.2 กรัมต่อหน่วยบริโภค พบปริมาณกรดเบนโซอิกเล็กน้อยในเค้กเนย 2 ตัวอย่าง ในเค้กชิฟฟ่อน 1 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เค้กเนยของ KUDSAN Bakery & Coffee พบปริมาณกรดซอร์บิกสูงสุด คือ 244.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด

Subjectกรดไขมันทรานส์. เค้ก.

Sourceฉลาดซื้อ 25, 216 (ก.พ. 2562) 56-57

Abstractเกณฑ์มาตรฐานปริมาณตะกั่วและแคดเมียมในช็อกโกแลตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 83 (พ.ศ.2527) สารตะกั่วต้องตรวจพบไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ช็อกโกแลตชนิดไม่หวาน ตรวจพบได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อ1 กิโลกรัม ส่วนแคดเมียมประเทศไทย ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ซึ่งปริมาณแคดเมียมและตะกั่วที่พบในช็อกโกแลต แตกต่างตามปริมาณของโกโก้ที่ผสมในผลิตภัณฑ์ โดยเมล็ดโกโก้เป็นแหล่งสะสมของแคดเมียม ทำให้ช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้ ระหว่าง 35-70 เปอร์เซ็นต์ มีแคดเมียมสูงกว่าช็อกโกแลตนมหรือช็อกโกแลตอื่น.

Subjectช็อกโกแลต. ช็อกโกแลต -- ปริมาณตะกั่ว. ช็อกโกแลต -- ปริมาณแคดเมี่ยม.