Author : ประพจน์ เภตรากาศ.
Source : ฉลาดซื้อ 25, 219 (พ.ค. 2562) 62-63
Abstract : ผักและผลไม้สีเขียว มีคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ ซาโปนิน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ผักและผลไม้สีแดง มีสารไลโคพีนสูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้หัวใจแข็งแรง ผักผลไม้สีเหลือง มีสารเบต้าแคโรทีน ฟลาโวนอยด์และลูทีน ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันต้อกระจกจอตาเสื่อม รักษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผักผลไม้สีม่วงสีน้ำเงิน มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมอง ผักผลไม้สีขาวสีน้ำตาล เช่น ขิง ข่า กระเทียม หัวไชเท้า งาขาว มีสารอัลลิซิน มีคุณสมบัติในการต้านไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอก ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก ต้านการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ทั้งนี้ ควรบริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน.

Subject : ผัก. ผัก – แง่โภชนาการ.

Source : ฉลาดซื้อ 25, 219 (พ.ค. 2562) 32-39
Abstract : ขนมจีนเป็นอาหารจำพวกแป้งสด จึงบูดเสียง่าย ทำให้สารกันบูดในกระบวนการยืดอายุขนมจีนให้สามารถเก็บได้นาน สารกันบูดที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic acid) ซึ่งหากร่างกายได้รับสารกันบูดในปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจทำให้ตับและไตทำงานแย่ลงได้ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์เส้นขนมจีน 31 ตัวอย่าง จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้า เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก และกรดเบนโซอิก พบว่า ไม่มีกรดซอร์บิกในทุกตัวอย่างและพบกรดเบนโซอิก ในทุกตัวอย่างโดยมี 2 ตัวอย่างที่มีกรดเบนโวอิกเกินมาตรฐาน ได้แก่ เส้นขนมจีนยี่ห้อหมื่นบูรพา จากตลาดคลองเตย ปริมาณกรดเบนโซอิก 1066.79 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเส้นขนมจีนยี่ห้อ M&A บ้านขนมจีนปทุม จากตลาดสี่มุมเมือง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1361.12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่5) อนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสียกรดเบนโซอิก สูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม.

Subject : วัตถุกันเสีย. ขนมจีน.

Author : ชลธร เหมทานนท์ และอารีย์ ประจันสุวรรณ.
Source : หมอชาวบ้าน 41, 485 (ก.ย. 2562) 49-51
Abstract : ผักหวานเป็นผักพื้นบ้านของไทย มี 2 ชนิด คือ ผักหวานบ้านและผักหวานป่า โดยนำมาประกอบอาหาร ปรุงสุก ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของผักหวานทั้งสองชนิดคล้ายคลึงกัน ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น แคโรทีนอยด์ สเตอรอลจากพืช ฟลาโวนอยด์ กรดฟีนอลิก และสารประกอบฟีนลิก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการก่อกลายพันธุ์และฤทธิ์ต้านมะเร็ง โดยในบทความมีส่วนผสมและวิธีการทำแกงคั่วผักหวานหอยลายด้วย ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของแกงคั่วผักหวานหอยลายกับข้าวสวย 1 จาน ให้เพลังงาน 542 กิโลแคลอรี มีโปรตีนจากเนื้อหอย ใยอาหารร้อยละ 18.4 แคลเซียมร้อยละ 13.7 ธาตุเหล็กร้อยละ 54 โซเดียม ร้อยละ 72.1 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน และมีบีตาแคโรทีน 1641.4 ไมโครกรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค จึงอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆได้.

Subject : อาหาร. การปรุงอาหาร. ผัก. ผักหวาน.

English Title : Study of refrigeration system and feasibility of using cool thermal storage system of Dutch Mill Co., Ltd.
Author : ฐิติพันธ์ เกียรติยงชัย
Sourceวิทยานิพนธ์. (2552) 54 หน้า
Abstract : ระบบทำความเย็นเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญของอุตสาหกรรม ทั้งในกระบวนการผลิตและ เก็บรักษาสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม ซึ่งระบบภายในโรงงานทั้งหมดจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบทำความเย็นเพื่อการควบคุมคุณภาพของสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นรับสินค้าจนกระทั่งส่งสินค้าให้แก่ ร้านค้า รายงานนี้ได้ทำการศึกษาระบทำความเย็นของ บริษัทดัชมิลล์ ซึ่งผลิต นมเปรี้ยว และโยเกิตร์ ระบบทำความเย็นของทางบริษัทมีรูปแบบเป็นบ่อเก็บกักความเย็น หรือ เรียกว่า ระบบ Cool Thermal Storage System ซึ่งมีหลักการพื้นฐานมาจาก วัฏจักรการอัดไอ ที่สามารถควบคุมช่วงเวลาการทำงานของระบบทำความเย็น เพื่อให้สอดคล้องกับการคิดค่าการใช้ทางด้านพลังงานไฟฟ้าของระบบอุตสาหกรรมในประเทศไทย ที่เป็นแบบ TOU หรือ time of use ที่มีช่วงเวลาในการคิดค่าไฟฟ้า ที่ต่างกัน คือ ช่วงเวลา on peak (9.00-22.00 น.) และ off peak (22.00-9.00 น.) โดยค่าใช้จ่ายในเวลา on peak จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า แต่ปัจจุบันทางโรงงานได้เพื่มกำลังการผลิตสินค้า โดยใข้ระบบทำความเย็นเดิม จึงเป็นสาเหตุให้ ระบบการทำความเย็นของทางโรงงานไม่สามารถผลิตน้ำแข็งภายในบ่อเก็บกักความเย็น เพื่อใช้ทำความเย็นในช่วง on peak ได้ส่งผลให้ระบบทำความเย็นต้องทำงานตลอดเวลา จนเกิดค่าใช้จ่ายทางด้านไฟฟ้าสูงถึงกว่า 6,248,432 บาท ต่อเดือน และตัวบ่อเก็บกักความเย็นของทางบริษัททั้งสองบ่อ มีการเสื่อมสภาพจากการใช้งานอย่างต่อเนื่องมานาน จึงเป็นที่มาของการทำการศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการใช้งานระบบเก็บกักความเย็นอย่างมีประสิทธิภาพ และ ออกแบบขนาดบ่อเก็บกักความเย็นเพื่อการชดเชยบ่อเก่าทั้งสองบ่อ โดย เริ่มต้นจากการศึกษาระบบการทำความเย็นของระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของทางโรงงาน จากนั้นทำการวิเคราะห์ภาระความร้อนที่ต้องนำออกด้วยระบบทำความเย็นนี้ เพื่อเปรียบเทียบกับความสามารถของระบบทำความเย็นที่ทางโรงงานมีอยู่ แล้วจึงคำนวนหาขนาดของบ่อเก็บกักความเย็นที่ใช้ในการทดแทนบ่อเก็บกักความเย็นเก่าทั้งสองบ่อ ผลจากการศึกษาพบว่า ระบบทำความเย็นของทางบริษัทมีความสามารถเพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบัน แต่หากต้องการทำเป็นระบบเก็บกักความเย็นจำเป็นต้องเพิ่มคอยล์เย็นเป็นจำนวนรวมทั้งหมด 14 คอยล์เย็นเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่การเก็บกักปริมาตรน้ำแข็งมากถึง 70 m³ และเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนคอยล์ที่เพิ่มขึ้นบ่อเก็บกักน้ำแข็งควรมีขนาด (กxยxส) 1,736x1,295x674 cm ตามลำดับ.

Refrigeration system is the most important process in food industrial where products are produced and stored. Especially for milk industry that every process must be cooled to keep product in high quality, since raw material receiving until disperse to shop. This report is study on the refrigeration system of yogurt and curd processing for Dutch Mill Co., Ltd. The type of refrigeration is Cool Thermal Storage System, so call "ice bank" , that base on the basic of vapor compression cycle. Feature of this system is shifting the operating time from on peak to off peak. According to the electricity cost for industry in Thailand, the method of electricity calculation is TOU (Time of Use) which is separated into 2 range of time; on peak (9.00-22.00) and off peak (22.00-9.00). Rate of cost on peak is higher than of peak. Nowdays, production volume is increasing without expanding of refrigeration system.So, cooling capacity is not enough for producing ice on coil in ice bank which results the refrigeration system must be operating all time and cause the electricity cost to rise up to 6,248,432 baht per month. Moreover, the two ice banks are worn out from using long time. Hence, these reasons become objectives of this research to study the refrigeration system and feasibility of using cool thermal storage system and the design of ice bank to replace the old ones. Process started with studying the recent refrigeration system used in the plant then analyzing the heat load that need to be cooled to compare with ability of refrigeration capacity. Lastly, calculating the size of ice bank to replace the two old tanks. Results show that the ability of refrigeration is sufficient only to maintain the process. Besides, to operating as cool thermal storage system; Full storage type, the cooling coil have to add to be 14 coils for storing 70 m³ ice. Dimension of tank should be (WxLxH) 1,736x1,295x674 cm.

Subjectระบบทำความเย็น. ระบบเก็บความเย็น. อุตสาหกรรมอาหาร. Cool storage system. Refrigerating system. Food industry and trade.