Author : กิตติภณ เรือนแสน
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 679 (ก.ย. 2561) 102-103
Abstract : ข้าวเม่า จัดเป็นอาหารว่างอย่างหนึ่งที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย นิยมรับประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทำข้าวเม่า เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวชนบท ซึ่งเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำมาทำเป็นอาชีพ ข้าวที่นำมาทำข้าวเม่า คือข้าวเหนียว โดยเลือกเมล็ดข้าวที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ขูดเมล็ดข้าวออกจากรวงข้าว จากนั้นนำไปนึ่ง ประมาณ 30 นาที แล้วนำมาคั่วจนมีกลิ่นหอม จึงนำไปตำด้วยครกกระเดือง จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 20 นาที เมื่อทำเสร็จใช้ใบตอง รองหรือห่อเพื่อรักษาความนิ่มของข้าวเม่า หากเก็บในภาชนะอื่น ข้าวเม่าจะแข็งตัวเร็วและไม่มีกลิ่นหอม


Subjectข้าวเม่า. ข้าวเม่า -- อุบลราชธานี. ข้าว -- การแปรรูป.

Author : แพรจารุ ทองเกลี้ยง
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 682 (พ.ย. 2561) 118-119
Abstract : แกงหวาย อาหารพื้นบ้านของบ้านกกบก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีวิธีการทำคล้ายแกงหน่อไม้ คือคั้นน้ำย่านางกรองเอาเฉพาะน้ำ นำขึ้นตั้งไฟพร้อมใส่พริกแกง จากนั้นใส่ยอดหวายอ่อนที่ต้มหรือนึ่งให้สุกแล้วลงไป ใส่ผัก เช่น บวบ เห็ด ฟักทอง ชะอม แกงหวายมีสรรพคุณทางยา ช่วยเจริญอาหาร มีโปรตีนและเส้นใย มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด ป่ามไข่ เป็นอาหารสุขภาพที่ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้สารปรุงแต่ง มีส่วนประกอบคือไข่ ต้นหอม หอมแดงซอย ซีอิ้วขาว นำไปทำให้สุกโดยนำกระทะตั้งไฟ ใช้ใบตองรองก้นกระทะ นำไข่ที่ปรุงไว้เทลงในใบตองแล้วพับปิด รอจนสุกจึงพลิกกลับอีกด้านให้สุกเหมือนกันทั้งสองด้าน

Subjectหวาย. หวาย -- อาหาร.

Author : ธนัชพร วิระสอน
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 628 (พ.ย. 2561) 100-101
Abstract : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้แปรรูปข้าวโพดเป็นน้ำนมข้าวโพด โดยคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ นำมาปอกเปลือกแล้วนำไปต้มให้สุก จากนั้นทำการปั่นเพื่อสกัดน้ำนมข้าวโพด ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 สูตร คือ สูตรไม่เติมครีมเทียม และสูตรเติมครีมเทียม ก่อนนำไปฆ่าเชื้อโดย การพาสเจอไรซ์ โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส มีการควบคุมคุณภาพ และเก็บรักษาในอุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานประมาณ 7 วัน.

Subjectนมข้าวโพด. ข้าวโพด -- ผลิตภัณฑ์.

Author : สาวบางแค 22, นามแฝง.
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 679 (ก.ย. 2561) 50-52
Abstract : เครื่องแกงตายาย เป็นสินค้าเด่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงตายาย หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งโชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ที่มีสมาชิกประมาณ 30 ราย ปัจจุบันสินค้าเครื่องแกงส้มของกลุ่มวิสาหกิจนี้ ได้รับรางวัลโอท็อป 5 ดาว เครื่องแกงเผ็ดและเครื่องแกงกะทิได้รางวัลโอท็อป 4 ดาว โรงงานผลิตเครื่องแกงผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และระบบประกันคุณภาพ GMP (Good Manufacturing Practice) ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงทุกชนิด สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยทุกขั้นตอนการผลิตและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ มาตรฐานสินค้า อย. มาตรฐานสินค้าฮาลาล มผช. GMP OTOP 5 ดาว และเป็นวิสาหกิจชุมชนดีเด่นจังหวัดสงขลา ประจำปี 2560 รวมถึงได้รับรางวัล Best Songkhla ด้วย

Subjectเครื่องแกงสำเร็จรูป. เครื่องแกงสำเร็จรูป -- สงขลา.