Author : Kevin Mis Solval … [et al.].
SourceJournal of Food Science 81(3)2016:E600-E609
AbstractThe objective of this study was to produce microencapsulated omega(ω)‐3 fatty acids (PUFAs) fortified egg white (EW) powders and to characterize their nutritional and physical properties. Stable emulsions (E‐SO‐EW) containing 3.43 (g/100 g) salmon oil (SO), 56.21 (g/100 g) EW, and 40.36 (g/100 g) water and a control (E‐EW) containing EW and water were prepared. E‐SO‐EW and E‐EW were separately spray dried at 130, 140, and 150 °C inlet air temperatures. This resulted in 3 microencapsulated SO fortified EW powders (SO‐EW), and 3 dried EW powders (DEW). The powders were analyzed for microencapsulation efficiency (ME), color, fatty acids methyl esters, protein, fat, moisture, ash, amino acids, minerals, microstructure, and particle size. The EPA and DHA content of SO and the ME of the powders were not affected by the inlet air temperature. The crude protein content of SO‐EW powders was approximately 24 (g/100 g) lower than dried EW powders. Leucine was the most abundant essential amino acid found in all the powders. Most of the powders’ median particle size ranged from 15 to 30 μm. The study demonstrated that microencapsulated ω‐3 salmon oil with high quality EW protein can be produced by spray drying.

SubjectEgg white powder. Microencapsulation. Salmon oil. Spray drying.

Author : นารินทร์ จันทร์สว่าง
Sourceจดหมายข่าว วว 22, 2 (ก.พ. 2562) 10
Abstract : สาหร่ายขนาดเล็กหรือจุลสาหร่าย (microalgae) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายพืช ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คุณค่าอาหารจากสาหร่ายขนาดเล็ก ประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เอนไซม์ วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินเอ ซี บี1 บี2 ไนอะซีน ไอโอดีน โพแทสเซียม เหล็ก แมงกานีส และแคลเซียม ในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีนำสาหร่ายมาเป็นแหล่งอาหารหลัก สาหร่ายที่นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร เช่น สาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella) สาหร่ายฮีมาโตคอกคัส (Hematococcus) สาหร่ายสไปรูลินา (Spirulina) ซึ่ง สาหร่ายคลอเรลลา เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว (Single cell) มีลักษณะรูปทรงกลมหรือรี มีสีเขียว มีปริมาณโปรตีนสูง 40-60 เปอร์เซ็นต์ สาหร่ายมีกรดนิวคลีอิกสูงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์จึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้กรดยูริกขับออกทางปัสสาวะได้ง่าย สาหร่ายฮีมาโตคอกคัส เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวที่สามารถผลิตสารสีแดง แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ซึ่งมีค่าการต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าโคเอนไซม์ คิวเท็น 800 เท่า สูงกว่าคาทีซีนที่สกัดได้จากชาเขียว 560 เท่า และ สาหร่ายสไปรูลินา สาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน อุดมไปด้วยโปรตีน และแหล่งของวิตามินบี เหล็ก แร่ธาตุต่าง ๆ ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับมนุษย์และสัตว์ สาหร่ายสไปรูลินาช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและส่งผลดีต่อระดับไขมันในเลือด รวมถึงระดับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดไม่ดี(LDL) ลดต่ำลง และไขมันชนิดดี(HDL) สูงขึ้นด้วย การรับประทานสาหร่ายให้ปลอดภัยควรคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภคซึ่งดูได้จากฉลาก หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์ หรือนักโภชนาการ

Subjectสาหร่ายขนาดเล็ก. Microalgae.

English Title : Effects of sulfur dioxide concentration and contact time on properties of cassava starch
Author : สหชัย สุวรรณการ
Sourceวิทยานิพนธ์. (2010) 96 หน้า
Abstract : This research aimed to study the effect of sulfur dioxide on properties of cassava starch. Starch powder was treated with sulfur dioxide solution at different concentrations (0, 100, 200, 300 and 500 ppm) and contact time (15, 30, 45, 60 and 120 min), and subsequently washed until no sulfur dioxide residues were detected prior to determination of whiteness, solubility, swelling power, peak viscosity and gelatinization thermal properties. With increasing sulfur dioxide concentration, whiteness increased significantly (p<0.05), while solubility, swelling power and peak viscosity decreased significantly (p<0.05). However, the concentration of sulfur dioxide had no effect on the gelatinization onset temperature (To) and enthalpy (Delta H) of the starch samples. When the contact time was prolonged, there was no significant change in the investigated starch properties (p<0.05). These results imply that the molecules of sulfur dioxide probably break down glycosidic linkages of amylose molecules in amorphous region. This study will aid understanding of the effect of addition of sulfur dioxide during extraction of cassava starch in industry.

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีต่อสมบัติของแป้งมันสำปะหลัง โดยนำผงแป้งไปผ่านสารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระดับความเข้มข้น (0, 100, 200, 300 และ 500 ส่วนต่อล้านส่วน) และเวลาสัมผัส (15, 30, 45, 60 และ 120 นาที) แตกต่างกัน และล้างต่อ จนกระทั่งไม่มีการตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างก่อนทำการวัดค่าความขาว การละลาย กำลัง การพองตัว ความหนืดสูงสุด และสมบัติทางความร้อนในการเกิดเจลาติไนเซชัน จากผลการทดลอง พบว่าเมื่อความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ค่าความขาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่การละลาย กำลังการพองตัว และความหนืดสูงสุดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิเริ่มต้นในการเกิดเจ ลาติไนเซชัน (To) และพลังงานที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการเกิดเจลาติไนซ์เซชัน (Delta H) ของตัวอย่าง แป้ง นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อเวลาสัมผัสนานมากขึ้น สมบัติของแป้งที่ตรวจสอบไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญ (p>or=0.05) โดยสรุปคาดว่าโมเลกุลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์อาจไปทำบานพันธะไกลโค ซิดิกของโมเลกุลอะไมเลสในส่วนอสัญฐาน การศึกษาในครั้งนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงผลของการเติม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในระหว่างการสกัดแป้งมันสำปะหลังในอุตสาหกรรม

Subject Sulfur dioxide. Tapioca starch. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์. แป้งมันสำปะหลัง.

English Title : Optimum drying conditions for production of high dietary fiber powder from lime residues
Author : ธนิน สุขผุย
Sourceวิทยานิพนธ์. (2005) 66 หน้า
Abstract : The effects of hot air drying conditions on the quality of high dietary fiber powder from lime (Citrus aurantifolia Swing) residues were determined. The results showed that drying temperature in the range of 40-60 ํC had no effect on the composition and hydration properties of the dietary fiber. Fiber powder possessed high total dietary fiber (TDF) and soluble dietary fiber, which were 77.10+-0.44 and 42.15+-1.94%, respectively. No statistically significant differences were also found for the water-holding and swelling capacities of the samples with varying particle size ranges, i.e., 300-450, 250-300 and 150-250 ?m. The effect of drying on the lime pectin was also investigated; drying temperature did not affect the yield of extracted pectin. Pectin yields obtained were higher than 85% (d.b.) with the moisture content of approximately 9% (d.b.). The solubility of pectin was examined at pH 3-7; the solubility increased as the pH increased. The pectin from dietary fiber powder produced at 60 ํC exhibited slightly higher solubility than that obtained when drying at 40 ํC and 50 ํC. The present study suggested that lime residues from Citrus aurantifolia Swing is a potential source of TDF and SDF. Drying at 60 ํC was recommended as a suitable condition for producing good quality dietary fiber powder.

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสภาวะอบแห้งที่มีต่อคุณภาพของเส้นใยอาหารผงที่ผลิตจากเศษเหลือทิ้งของมะนาวแป้น จากผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิอบแห้งในช่วง 40-60 องศาเซลเซียส ไม่มีผลต่อองค์ประกอบและสมบัติด้าน Hydration ของเส้นใยอาหาร โดยเส้นใยอาหารผงที่ผลิตได้ประกอบด้วยปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดร้อยละ 77.10?0.44 (ฐานแห้ง) และมีปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ ได้ร้อยละ 42.15?1.94 (ฐานแห้ง) และไม่พบความแตกต่างของค่า Water-holding Capacity และ Swelling Capacity ของเส้นใยอาหารที่มีขนาด แตกต่างกัน คือ ช่วงอนุภาค 300-450, 250-300 และ 150-250 ไมครอน นอกจากนี้ยังพบว่าสภาวะอบแห้งที่ใช้ในการทดลองไม่มีผลต่อปริมาณ ของเพกตินที่สกัดได้ โดยได้ปริมาณเพกตินทั้งหมดร้อยละ 85 (ฐานแห้ง) ที่ความชื้นร้อยละ 9 (ฐานแห้ง) สำหรับการศึกษาค่าการละลายของเพกติน ที่ pH 3-7 พบว่าค่าการละลายของเพกตินสูงขึ้น เมื่อ pH ลดลง อย่างไรก็ตาม เพกตินที่สกัดจากผงเส้นใยอาหารที่ได้จากสภาวะอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มีค่าการละลายสูงกว่าเพกตินที่สกัดได้จากตัวอย่างที่ผ่านการอบแห้งที่ 40 และ 50 องศาเซลเซียส เล็กน้อย ผลการทดลองสรุปว่า เศษเหลือทิ้งจากมะนาวแป้นหลังจากการคั้นน้ำมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งเส้นใยอาหาร และการอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส สามารถใช้ในการอบแห้งเพื่อผลิตเส้นใยอาหารผงที่มีคุณภาพ

SubjectDrying. Lemon. Pectin. การอบแห้ง. มะนาว. เพกทิน. เพกติน.