- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2487
Author : กองบรรณาธิการเกษตรกรรมธรรมชาติ
Source : เกษตรกรรมธรรมชาติ 19, 2 (2559) 22-23
Abstract : การทำไข่เค็ม นอกจากการนำไปดองในน้ำเกลือแล้ว ยังมีวิธีการทำไข่เค็มด้วยการพอกดินสอพอง โดยผสมดินสอพองกับน้ำสะอาด ไม่ให้ข้นหรือหนืดเกินไป หมักทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง จากนั้นเทเกลือผสมลงในดินสอพองที่หมักไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไข่เป็ดที่ล้างทำความสะอาดแล้ว คลุกเคล้ากับดินสอพองโดยให้มีความหนาพอสมควร แล้วนำไปคลุกกับขี้เถ้าแกลบให้ทั่ว ก่อนนำบรรจุลงในภาชนะ เช่น ถุงพลาสติก กล่อง แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เมื่อครบ 3-7 วัน สามารถนำมาประกอบอาหาร ประเภทไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ตุ๋นได้ หากต้องการนำไปต้ม ควรหมัก 7-20 วัน ซึ่งไข่เค็มดินสอพองนี้จะมีรสชาติไม่เค็มจัดเหมือนการดองด้วยน้ำเกลือ.
Subject : ไข่เค็ม--การผลิต--สูตรดินสอพอง.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2972
Author : คุณนายเพียว, นามแฝง
Source : GREEN NETWORK Iss. 76 (Jul.-Aug. 2016) 15
Abstract : เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Passion Fruit เป็นไม้เถา มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแล้วแต่พันธุ์ ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาว เรียกว่า รก กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด นิยมนำมาคั้นเป็นน้ำ นำไปเป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ไอศกรีม ขนมเค้ก คุกกี้ จากการศึกษาพบว่า เสาวรสมีวิตามินซีมากกว่ามะนาว ในเมล็ดมี Albumin homologous protein ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ ทั้งนี้ไม่ควรเคี้ยวให้เมล็ดสดแตก เพราะร่างกายจะได้รับผลข้างเคียงจากสารไซยาไนด์ในเมล็ด นอกจากนี้ เสาวรส สามารถช่วยในการสมานผิว ลดเรือนริ้วรอย จุดด่างดำ รอยแดง ฝ้า กระ ให้ดูจางลง ช่วยให้ผิวนุ่มเนียนขึ้น ลดการอักเสบของสิว และน้ำมันจากเมล็ดเสาวรสยังใช้เป็นยาบรรเทาปวดเมื่อย นวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้.
Subject : เสาวรส--แง่โภชนาการ--สรรพคุณทางยา.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1734
English Title : Food and Feed Safety Assessment: The Importance of Proper Sampling
Author : Harry A. Kuiper and Claudia Paoletti
Source : Journal of AOAC International Vol. 98 No. 2 Date: 2015 Page:252-258
Abstract : ความสำคัญของการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม หลักการทั่วไปเพื่อความปลอดภัยและการประเมินผลทางโภชนาการของอาหารมนุษย์และ อาหารสัตว์และความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับสารอันตราย ระบุว่าได้รับการพัฒนาโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก และได้รับการต่อเติมให้ละเอียดยิ่งขึ้นในโครงการอาหารปลอดภัยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรป เราเน้นบทบาทสำคัญของการสุ่มตัวอย่างในการประเมินความปลอดภัยอาหารมนุษย์ /สัตว์ การสุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพสูงควรจะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งาน ของกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอและที่เป็นตัวแทนเป็นวัสดุทดสอบสำหรับการชี้บ่ง อันตราย คุณลักษณะทางพิษวิทยาและโภชนาการของสิ่งอันตรายที่เหมือนกัน รวมทั้งเพื่อการประเมินระดับเปิดเชิงปริมาณและความน่าเชื่อถือของอาหารมนุษย์ / สัตว์ หรือสารประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับมนุษย์และสัตว์ ความสำคัญของการสุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจะเน้นผ่านตัวอย่างของการวิเคราะห์ความเสี่ยงในพื้นที่ที่แตกต่างกันของการผลิต อาหารมนุษย์ / สัตว์ ทฤษฎีของการสุ่มตัวอย่าง ได้รับการยอมรับเป็นกรอบเฉพาะในการที่จะให้ความถูกต้องและความแม่นยำของขั้นตอน การสุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของแหล่งเพาะปลูกกับ ความต้องการในการบริโภคซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ ดังนั้น ทฤษฎีของการสุ่มตัวอย่าง จะต้องรวมการเข้าถึงการประเมินความเสี่ยงที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติ / องค์การอนามัยโลก ได้จัดตั้งไว้อย่างดี เพื่อรับประกันเค้าโครงความโปร่งใสและถูกต้องสำหรับการประเมินความเสี่ยงและ กระบวนการการตัดสินใจ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1698
Source : ASIA PACIFIC FOOD INDUSTRY THAILAND ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 (ก.ย.-ต.ค. 2547) หน้า 38-40
Abstract : สารแคโรทีนอยด์และไลโคปีนเป็นสารให้สีที่สามารถสกัดได้ทั้งจากสัตว์ ผัก และแร่ธาตุ หรือ สังเคราะห์ขึ้นเองที่เรียกที่ว่า สารเหมือนธรรมชาติ (Natural Identical Colorants) นิยมใช้เป็นสีผสมอาหาร เบต้า-แคโรทีนเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ให้เฉดสีแดงเข้ม เช่นเดียวกับสีของมะเขือเทศ จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารให้สีทั้งสองชนิดนั้นมีประโยชน์ทางสุขภาพ ช่วยลดความเสียงของโอกาสในการเกิดโรคบางประเภทมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์เหมือนกับวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และแร่ธาตุบางชนิด สารสองตัวดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการอาหารและเครื่องดื่ม ในประเทศไทย คณะกรรมการอาหารและยาได้อนุญาตให้ใช้สีทั้งสองเป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดสีผสมอาหารได้.