Author : ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 656 (ต.ค. 2560) 108-109
Abstract : หม่ำ เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหาร วัตถุดิบหลักคือเนื้อวัวและเนื้อหมูโดยใช้เฉพาะส่วนเนื้อสันและสะโพก 85 เปอร์เซ็นต์ กับส่วนผสมอื่นๆ 15 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กระเทียม พริกไทย เกลือ และผงชูรส หม่ำต้องใส่ตับเป็นวัตถุดิบหลักในจำนวนไม่มากด้วย ถ้าใช้เนื้อ 12 กิโลกรัม จะใส่ตับ 1.40 กิโลกรัม ต่อจากนั้นให้หมักเนื้อเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที แล้วจึงนำไปใส่กระเพาะหมู ชั่งตามขนาดการขาย แล้วจึงนำไปแขวนตากแดด หากแดดแรงมากใช้เวลาเพียงครึ่งวัน หม่ำที่แช่ในช่องแข็งสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน ถ้าอยู่ในอุณหภูมิปกติสามารถเก็บไว้ได้ประมาณเดือนกว่า ห้องที่ผลิตหม่ำจะต้องปิดกั้นจากฝุ่นและแมลงที่มารบกวนรสชาติหม่ำเน้นที่ความเป็นเนื้อล้วน คละเคล้ากับกลิ่นหอมของกระเทียมผสมกับความเปรี้ยวเค็ม สามารถบริโภคได้หลายวิธี เช่น นำเข้าไมโครเวฟ นำไปทอด ย่าง หรือจะดึงเฉพาะเนื้อออกแล้วนำไปปรุงร่วมกับเมนูอาหารหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ทำแกง หรือใส่ไข่เจียว หรือนำไปผัดกะเพรา

Subjectหม่ำ. หม่ำ--แง่โภชนาการ. หม่ำ--ชัยภูมิ.

Author : วัชรี่ ภูรักษา
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 420 (ก.ย. 2560) 58-59
Abstract : น้ำพริกกุ้ง “จรรย์สุดา” เป็นสินค้าโอท็อปของ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มี 3 สูตรคือ สูตรดั้งเดิมซึ่งขายดีมาตลอด สูตรเผ็ดน้อย และสูตรเข้มข้น กำลังการผลิตต่อเดือนประมาณ 1 ตัน ใช้กุ้งแห้งกว่า 300 – 400 กิโลกรัม พริก หอม กระเทียม อย่างละกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นและพื้นทีใกล้เคียง บรรจุภัณฑ์มีทั้งแบบซองและกระปุก แบบซองจะขายดีเพราะสามารถเก็บได้นาน และนำมาทำเมนูได้หลากหลาย เช่น รับประทานกับไข่เจียว ทำยำ หรือทำไส้แซนด์วิช

Subjectน้ำพริกกุ้ง. น้ำพริกกุ้ง--แง่โภชนาการ.

SourceFOOD FOCUS THAILAND 12, 134 (May 2017) 24-25
Abstract : นิยามและขอบเขตของอาหารใหม่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ.2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel Food) หมายถึง วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติการบริโภค เป็นอาหารน้อยกว่าสิบห้าปี ยกตัวอย่างเช่น การนำส่วนอื่นที่ไม่ใช่รากของโสมมาบริโภคซึ่งมีประวัติการบริโภคน้อยกว่า 15 ปี เป็นต้น หรือ เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหารและอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม นอกจากนิยามและขอบเขตของอาหารใหม่แล้ว ในบทความนี้ยังสรุปสาระสำคัญของประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องอาหารใหม่ (Novel Food) ไว้ด้วย วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆที่ทำให้ส่วนประกอบของอาหาร โครงสร้างของอาหาร หรือรูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกาย ของสิ่งมีชีวิต หรือเมแทบอลิซึม (Metabolism) หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (Level of Undersirable substances) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนาโนเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้ส่วนประกอบของอาหารนั้นมีอนุภาคเล็กกว่าการผลิตโดยวิธีดั้งเดิม หรือกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์โดยไม่ใช้ความร้อน (Non – thermal food pasteurization process) และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุ

Subjectอาหาร--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.

Author : องอาจ ตัณฑวาณิช
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 29, 652 (ส.ค. 2560) 60-61
Abstract : ห่อหมก เป็นอาหารพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย การทำห่อหมกให้อร่อยต้องใช้ปลาสากเหลืองหรือปลาน้ำดอกไม้ ใช้เครื่องแกงที่มีส่วนผสมของตะไคร้ กระเทียม พริกแห้ง พริกไทย ขมิ้น และใช้กะทิคั้นสดผสมกันในอัตราส่วน เนื้อปลาน้ำดอกไม้สับหยาบ 10 กิโลกรัม เครื่องแกง 25 กิโลกรัม น้ำกะทิ 2 กิโลกรัม เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วจึงใส่ใบมะกรูดหั่นฝอย พักไว้ 30 นาทีเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากัน จึงนำไปตักใส่ห่อใบตองและนึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 15 นาทีซึ่งรสชาติของห่อหมกที่ได้จะจัดจ้านด้วยรสและกลิ่นของเครื่องแกง

Subjectห่อหมก. ห่อหมก--แง่โภชนาการ.