Authorจิราภรณ์ บุราคร
Sourceวารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 65, 205 (ก.ย. 2560) 16-17
Abstractการประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัสในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยวิเคราะห์หารูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคแล้วนำมาต่อยอดด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวัดวิเคราะห์ และแปลความหมายของลักษณะผลิตภัณฑ์และอาหาร แล้ววิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้หลักการทางสถิติ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ 1.การมองเห็น จากสี ขนาด รูปร่าง ตำหนิ เป็นต้น 2.การได้กลิ่นจากจมูกดมกลิ่น 3.การรับรส จากการใช้ลิ้นรับรส 4.การสัมผัส จากการสัมผัสลักษณะเนื้อสัมผัส ความหนืด และความเหนียว เป็นต้น และ5.การได้ยิน จากการบดเคี้ยวอาหารแล้ววัดการได้ยินเสียง กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหารกรมวิทยาศาสตร์บริการ มีความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการทางด้านประสาทสัมผัส มีการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัสในการวิจัยผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ช่วยให้ธุรกิจอาหารเติบโต อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Subjectอาหาร -- คุณภาพ. การพัฒนาอุตสาหกรรม -- นโยบายชองรัฐ

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 661 (ธ.ค. 2560) 84-85
Abstractถั่วเหลือง (Soy bean) เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลืองเรียก Glycine max(L) Merr. เป็นพืชตระกูลถั่ว มีชื่อเรียกอื่นๆ อาทิ ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง โชยุ คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง 100 กรัม ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี มีคาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม และสารอาหารอื่นๆอีกจำนวนมาก ถั่วเหลืองมีสรรพคุณบำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ แม้ถั่วเหลืองจะมีประโยชน์มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภค อาทิ ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง ผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลืองให้งดกิน ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutintin ที่เป็นตัวทำเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพของการทำการของเม็ดต่ำลง การกินถั่วเหลืองเป็นประจำอาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ ฮอร์โมนต่ำได้

Subjectถั่วเหลือง -- สารอาหาร. ถั่วเหลือง -- สมุนไพร.

Authorพิชญาดา เจริญจิต
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 662 (ม.ค. 2561) 112-113
Abstractเค็มบักนัด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านโบราณในการถนอมอาหารของชาวอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี วิธีการทำเค็มบักนัด คือ แล่เนื้อปลา หั่นเป็นชิ้นๆ นำมาคลุกกับเกลือ 1 กิโลกรัมต่อปลาที่หั่นแล้ว 5 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำมาผสมกับสับปะรดที่สับเป็นชิ้นเล็กๆ โดยใช้ทั้งเนื้อและน้ำสับปะรด ผสมกับปลาในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 บรรจุใส่ขวดที่ล้างสะอาด แล้วอัดให้แน่น ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่มืดประมาณ 3 เดือน จึงสามารถนำมาบริโภคได้ เค็มบักนัด จะมีรสเปรี้ยวและหวานเล็กน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถนำมาปรุงในรูปของอาหารต่างๆ เช่น หลนกับกะทิ ลาบ ผัดกับหน่อไม้ ไข่ตุ๋นเค็มบักนัด

Subjectเค็มบักนัด. เค็มบักนัด -- แง่โภชนาการ.

Authorกนกพร หมีทอง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 423 (ธ.ค. 2560) 68-69
Abstractแบรนด์ติกกี้ไรซ์ ข้าวแต๋น...อร่อยมาก นำวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติมาปรับเปลี่ยนเพื่อให้หลากหลายจนได้ข้าวแต๋น 4 สี ข้าวเหนียวขาว ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวผสมบีทรูท ข้าวเหนียวผสมใบเตย โดยใช้ข้าวพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จากจังหวัดเชียงราย ใช้น้ำตาลมะพร้าวจากจังหวัดเพชรบุรี ผลิตแบบโฮมเมด จุดเด่นของข้าวแต๋นคือมีความกรอบ พอง น้ำตาลไม่เหนียวติดฟัน รสชาติกลมกล่อม ราคาขายถุงละ 35 บาท รายได้เฉลี่ยหลัก 100,000 – 150,000 บาทต่อเดือน

Subjectข้าวแต๋น--การผลิต. ข้าวแต๋น--การตลาด.