Author : พิชญาดา เจริญจิต
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 28, 630 (ก.ย. 2559) 120-121
Abstract : ปลาส้มเป็นปลาอาหารที่ทำมาจากปลา มีคุณค่าทางโปรตีนสูง ปลาส้มมีอยู่ 4 ประเภทคือ ปลาส้มตัว ปลาส้มชิ้น ปลาส้มเส้น และปลาส้มฟัก วิธีการทำปลาส้มมีส่วนผสม คือ ปลาตะเพียนหรือปลาน้ำจืด เกลือป่น กระเทียมบดหรือตำ ข้าวสุก (ข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า) วิธีทำ ขอดเกล็ดปลาและควักไส้ออกให้หมดแล้วบั้งปลา ข้างละ 4-5 บั้ง หรือตามต้องการถ้าปลาตัวใหญ่ตัดปลาเป็น 2-3 ชิ้น ล้างปลาให้สะอาดแล้วเอาปลาไปแช่ในน้ำซาวข้าว แช่ปลาไว้ 20-30 นาที แล้วล้างให้สะอาดพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำเกลือมาผสมกับปลาทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง ส่วนข้าวสุกนำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้งจากนั้นนำเกลือป่น ข้าวสุก และกระเทียมผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปคลุกกับปลา นวดให้เข้ากันนำปลาที่ได้ใส่ในกล่องหรือภาชนะ กดตัวปลาให้แน่น ปิดฝาทิ้งไว้ 1-5 วัน หรือจนกระทั่งมีน้ำออกจากปลาหรือปลามีรสเปรี้ยว เห็นได้ว่า ปลาส้ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี.

Subjectปลาส้ม--การผลิต.

Author : ดวงกมล, นามแฝง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 22, 402 (ส.ค. 2559) 36-37
Abstract : ปี พ.ศ. 2559 ภาครัฐตั้งเป้าหมายพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มอาหารฮาลาล มีผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปประเภทข้าวพร้อมทานเข้าร่วมโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ทำให้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่เดิมจะมีเพียงข้าวสวยพร้อมทานในรูปแบบของข้าวขาวหอมมะลิ ข้าวกล้องหอมมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ มาเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวผัดพริกไทยดำ ข้าวผัดแกงเขียวหวาน ข้าวผัดต้มยำ และข้าวเหนียวมูนพร้อมทานภายใต้ชื่อ “อรุณสวัสดิ์” โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้บริโภคอาหารฮาลาลอย่างจริงจังโดยเริ่มที่ประเทศมาเลเซีย เพราะมองว่าเป็นตลาดฮาลาลที่มีกำลังซื้อสูง เป็นโอกาสของสินค้าอาหารฮาลาลของไทยที่จะเข้าไปขยายตลาดในมาเลเซีย ซึ่งยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก.

Subjectผลิตภัณฑ์ข้าว--มาตรฐานฮาลาล.

Sourceฉลาดซื้อ 23, 184 (มิ.ย. 2559) 32-38
Abstract : หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มหรือเนื้อเค็ม เป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูป เพื่อเพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหารและสามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งอาจมีการใส่ไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์ จึงมีการสุ่มตรวจหาปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในหมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม และเนื้อเค็ม จำนวน 14 ตัวอย่าง พบว่า มี 10 ตัวอย่าง (ร้อยละ 71) ใส่สารไนเตรท ไนไตรท์แต่ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ใช้ ตามประกาศ อย. เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร มี 1 ตัวอย่างที่มีปริมาณไนเตรทเกินค่าปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ คือหมูสวรรค ร้านหมูหมู พบในเตรทสูงถึง 2033.16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปบ่อยครั้งเกินไป เพราะมีความเสี่ยงต่อการรับสารเคมีที่ใช้เจือปนเพื่อถนอมอาหารในปริมาณมากซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้.


Subjectหมูแผ่น--การแปรรูป.

Author : พิชญาดา เจริญจิต
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 28, 625 (มิ.ย. 2559) 120-121
Abstract : ผงชูรส (Monosodium Glutamate : MSG) มีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น เป็นเกลือของกรดกลูตามิก ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโปรตีนของพืชและสัตว์ทั่วไป ร่างกายของคนสามารถสร้างขึ้นเองได้ ผงชูรส ผลิตจากกระบวนการหมัก เช่นเดียวกับเบียร์ น้ำส้มสายชู หรือโยเกิร์ต โดยกระบวนการผลิตเริ่มจากการหมักกากน้ำตาลจากอ้อย หรือ แป้งมันสำปะหลัง ให้กลายเป็นกลูโคสโดยใช้เอนไซม์ นำกลูโคสที่ได้มากรอง แล้วฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นเปลี่ยนกลูโคสเป็นกรดกลูตามิกโดยหมักน้ำตาลกลูโคสด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งกับสารยูเรีย และผ่านอากาศเข้าไปพร้อมกับปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสม แล้วจึงเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ในกรดกลูตามิกในปริมาณที่ทำให้สารละลายเป็นกลาง (pH7) จากนั้นนำไปทำให้ตกผลึกเป็นผงชูรสบริสุทธิ์ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา จัดให้ผงชูรสเป็นเครื่องปรุงแต่งอาหารชนิดหนึ่งที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย ผงชูรสไม่มีคุณค่าทางอาหาร และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ โดยรู้สึกลิ้นชา ร้อนปาก คางและขากรรไกรได้.

Subjectผงชูรส--การบริโภค--การผลิต--การตรวจสอบ.