- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2078
Author : Halfdan Hansen, Niels และเป็นนิตย์, นามแฝง, เรียบเรียง
Source : SCIENCE ILLUSTRATED No. 95 (May 2019) 24-33
Abstract : พืชดัดแปลงพันธุกรรมไม่ดีต่อสุขภาพและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากพืชจีเอ็มโอชนิดแรกได้รับการอนุมัติให้ปลูก แต่เทคโนโลยีจีเอ็มโอในปัจจุบันแตกต่างไปจากเดิมมาก เครื่องมือตัดต่อยีนส์ใหม่ที่เรียกว่า คริสเปอร์-แคส9 เป็นวิธีตัดต่อยีนใหม่ที่แม่นยำ เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆกับพืชและสัตว์ หรือใช้ในการยับยั้งยีนที่ไม่ต้องการได้ ลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตอื่นลง การแก้ไขยีนด้วยเครื่องคริสเปอร์-แคส9 ช่วยกระตุ้นหรือปิดการทำงานของดีเอ็นเอที่มีอยู่ ทำให้พืชมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างได้ ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินว่าการตัดต่อยีนโดยใช้เทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส9 ในพืชไม่ต้องเป็นไปตามกฎหมายจีเอ็มโอ ดังนั้นการตัดต่อยีนด้วยเทคโนโลยีใหม่จึงเป็นวิวัฒนาการการผสมพันธุ์แบบเดิมไม่ใช่การดัดแปลงยีน.
Subject : อาหาร. การตัดแต่งพันธุกรรม. ข้าวโพด. มันฝรั่ง. ปลาแซลมอน. ข้าว.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2656
Author : พิชญาภา ราชธรรมมา และอังค์วรา พูลเกษม.
Source : วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 68, 211 (ก.ย. 2562) 33-35
Abstract : สเฟียริฟิเคชัน (Spherification) เป็นเทคนิคหนึ่งของการทำอาหารแบบ molecular gastronomy ซึ่งอาศัยการรังสรรค์จานอาหารให้มีรูปแบบแปลกใหม่ แต่คงความอร่อยและรสชาติของวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี อาศัยหลักการทางเคมีและฟิสิกส์ในการทำให้ของเหลวจับตัวเป็นก้อนทรงกลมกึ่งแข็งอยู่ภายในและมีเยื่อบางๆ เป็นเจลห่อหุ้มภายนอก ทำให้อาหารที่ได้มีลักษณะเป็นเม็ดเจลขนาดเล็ก รูปร่างและรสสัมผัสคล้ายไข่ปลา องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการสเฟียริฟิเคชัน คือ อัลจิเนต และแคลเซียมส่วนใหญ่ที่นำมาใช้คู่กับโซเดียมอัลจิเนตจากธรรมชาติ เทคนิคสเฟียริฟิเคชัน มี 2 ประเภท คือ เทคนิคสเฟียริฟิเคชันพื้นฐาน (basic spherification) เทคนิคสเฟียริฟิเคชันย้อยกลับ (reverse spherification) ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มสตาร์ทอัพสัญชาติอังกฤษได้ศึกษาค้นคว้าหาวัสดุใหม่เพื่อทดแทนขวดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง โดยนำเทคนิคสเฟียริฟิเคชันมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ทรงกลม ภายในเป็นน้ำที่สามารถดื่มได้และมีเยื่อบางๆ หุ้มไว้ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ขวดน้ำกินได้ โดยเยื่อหุ้มดังกล่าวทำมาจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลที่กินได้ มาจากธรรมชาติและย่อยสลายได้ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ถือเป็นนวัตกรรมการผลิตน้ำดื่มที่ไม่ต้องใช้ขวดพลาสติก ที่นำมาใช้ได้จริง.
Subject : อาหาร. ขยะ. สเฟียริฟิเคชัน. อาหาร -- การวิเคราะห์. Spherification.
แหล่งที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1994
Author : วิชชภรณ์ แกระวงค์.
Source : วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 68, 211 (ก.ย. 2562) 31-32
Abstract : กลุ่มรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดทั่วไปในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ (R-CB0-01) และข้อกำหนดเฉพาะในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร (R-CB1-01) พิจารณาคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ลักษณะทั่วไป ปริมาณตะกั่วและแคดเมียมที่ปลดปล่อยออกมาจากภาชนะ ความทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน การดูดซึมน้ำ และการทนต่อการราน โดยในปีงบประมาณ 2560-2561 มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามาตรฐานและได้รับการรับรอง จำนวน 8 โมเดล.
Subject : วัสดุเซรามิก. บรรจุภัณฑ์อาหาร. ภาชนะบรรจุอาหาร.
แหล่งที่มาของภาพ :https://pixabay.com
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2171
Author : หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง และดารัตน์ พัฒนะกุลกำจร.
Source : วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 68, 211 (ก.ย. 2562) 26-27
Abstract : ในปัจจุบันการใช้กระดาษบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีปริมาณเพิ่มขึ้น กระดาษบรรจุภัณฑ์อาหารมีทั้งชนิดที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม และกระดาษชนิดที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ภายนอกไม่ได้สัมผัสกับอาหารโดยตรง ซึ่งแม้อาหารจะผลิตจากวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่สะอาด แต่บรรจุในวัสดุสัมผัสอาหารประเภทกระดาษที่มีสารอันตรายตกค้าง สารเหล่านี้ก็สามารถแพร่กระจายเข้าสู่อาหารได้ สารอันตรายที่อาจตกค้างในกระดาษสัมผัสอาหารหรือกระดาษบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือสารอนินทรีย์อันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และกลุ่มสารอินทรีย์อันตรายที่มีฤทธิ์ก่อมะเร็ง เช่น บิสฟินอล A พอลีไซคลิกแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) สารกลุ่มพทาเลต เบนโซฟีโนน ในปี พ.ศ. 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจปริมาณสารตกค้างกลุ่มเบนโซฟีโนน จากตัวอย่างกระดาษที่ยังไม่ผ่านการบรรจุอาหาร ผลกาศึกษาพบว่า มีการปนเปื้อนของเบนโซฟีโนน การนำกระดาษมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารจำเป็นต้องมีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและป้องกันอันตรายจากสารเคมีตกค้างสู่ผู้บริโภค.
Subject : บรรจุภัณฑ์กระดาษ. บรรจุภัณฑ์อาหาร.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com