- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 3044
Author : แก้ว กังสดาลอำไพ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 225 (พ.ย. 2562) 64-66
Abstract : อาหารขยะ หรือ Junk Food เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่มีโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่น้อยมาก ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน น้ำอัดลม แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า หากกินอาหารเหล่านี้มากๆ อาจส่งผลได้รับโรคที่แฝงมากับอาหารเหล่านี้ ในกรณีศึกษาผู้ป่วยรายหนึ่งที่ชอบบริโภคอาหารขยะเป็นหลัก พบว่าระดับทองแดงและซีลิเนียมต่ำ แต่ระดับสังกะสีสูง เพราะผู้ป่วยได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยกว่าที่ควร มีอาการโลหิตจาง เพราะขาดวิตามินโฟเลตจากผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ถั่ว ผลไม้ จากสภาวะโภชนาการที่ไม่ดีเพราะกินไม่ดีของผู้ป่วยรายนี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายขาดสารอาหารหลายชนิดพร้อมกัน เกิดความผิดปกติของระบบประสาทตา ส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งสภาพการณ์ในลักษณะนี้อาจเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้คนบริโภคอาหารขยะอย่างแพร่หลาย.
Subject : Junk food. อาหาร. อาหารขยะ. อาหารขยะ – แง่โภชนาการ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2263
Author : ประพจน์ เภตรากาศ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 225 (พ.ย. 2562) 62-63
Abstract : ในปัจจุบันพบผู้ป่วยภาวะตับอักเสบ ไขมันสะสมในตับทั้งจากแอลกอฮอล์และไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์มากขึ้น ทำให้ผู้คนบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงตับ เพื่อช่วยฟื้นฟูและป้องกันตับจากภาวะดังกล่าว ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงตับมีส่วนผสมของสมุนไพรหลักๆ 3 ชนิด ได้แก่ มิลค์ ทิสเทิล (milk thistle) มีสารไซลิมาริน ช่วยสร้างเซลล์ตับ ลดการอักเสบ ป้องกันเซลล์ตับ ใบอาร์ติโชกมีคุณสมบัติช่วยปกป้องเซลล์ตับ ลดการทำลายตับ และรากแดนดิไลออนมีการนำมาใช้รักษาโรคตับ ซึ่งการศึกษาวิจัยพบว่าสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้ ยังไม่มีการวิจัยในมนุษย์และคุณภาพงานวิจัยยังไม่ดีพอ ต้องทำการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถดูแลตับให้แข็งแรงได้โดยการลดไขมันในอาหาร ลดสารพิษ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มการออกกำลังกาย และกินผลไม้ที่ปลอดสารเคมีมากขึ้น.
Subject : อาหาร. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. สมุนไพร. อาหารเพื่อสุขภาพ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1923
Author : อลงกรณ์ รัตตะเวทิน.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 713 (15 ก.พ. 2563) 116-117
Abstract : นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากกากสาโทเหลือทิ้ง เพื่อผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวด้วยปฏิกรณ์ชีวภาพประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.ศึกษาคุณสมบัติของกากสาโทและนำสาโทเหลือทิ้งด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี 2.ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรดอะซิติก ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ปริมาณกรดอะซิติก วิเคราะห์ความเข้มข้นของกรดอะซิติกและจำนวนแบคทีเรียหลังการหมัก 3.การทดสอบทางประสาทสัมผัส 4.ทดสอบประสิทธิภาพการผลิตกรดอะซิติกในระดับต้นแบบ และ5.ทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์จากการทดสอบผู้บริโภค 100 คน โดยยอมรับในระดับมากร้อยละ 50 ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 28 และในระดับปานกลางร้อยละ 22 ซึ่งน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวนี้เป็นเครื่องดื่มประเภทเฮลท์ตี้ดริงก์ ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น รวมถึงช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี.
Subject : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี. น้ำส้มสายชู. ข้าว -- การหมัก. อาหาร. ข้าว -- วัสดุเหลือใช้ -- การใช้ประโยชน์. วัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2436
Author : อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 713 (15 ก.พ. 2563) 107
Abstract : ดอกงิ้วเป็นผลผลิตจากต้นงิ้ว มี 2-3 สี คือ สีเหลือง ส้ม และสีแดง ส่วนที่นำมาประกอบอาหารคือก้านเกสรตัวผู้ ซึ่งต้องเด็ดเปลือกและกลีบรองดอกออกขณะยังสดอยู่ นำมาตากแดดให้แห้ง ห่อกระดาษหรือภาชนะที่มีฝาปิด เก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นานหนึ่งปี คุณค่าทางอาหารดอกงิ้ว 100 กรัม มีแคลเซียม 429 มิลลิกรัม มากกว่านมวัว 3 เท่า นำเกรสตัวผู้แห้งมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะทาภาคเหนือใช้ทำ น้ำเงี้ยว ใช้แต่งสีแกงส้ม แกงกะหรี่ ส่วนเกสรสดลวกรับประทานกับน้ำพริกหรือใส่ในแกงส้ม ผสมข้าวโพดทำขนมได้ ดอกงิ้วมีสรรพคุณแก้พิษไข้ ระงับประสาท ระงับปวด แก้กระหายน้ำ แก้น้ำร้อนลวก แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะได้.
Subject : งิ้ว (พืช). งิ้ว (พืช) -- สรรพคุณทางยา. อาหาร. งิ้ว (พืช) – แง่โภชนาการ.