- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2448
Author : สุรพงษ์ พินิจกลาง.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์ 72, 4 (ก.ค.-ส.ค. 2561) 32-33
Abstract : Powerbar หรือ Energy gel เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีคุณสมบัติเสริมสร้างพลังงานให้นักกีฬามีศักยภาพในการเล่นกีฬาได้สูงมากขึ้น ส่วนประกอบหลักของ Energy gel ได้แก่ มอลโทเดกซ์ทริน (maltodextrin) น้ำตาลฟรักโทส (fructose) เกลือแร่ กาแฟอีน กรดอะมิโน และคลัสเตอร์เดกซ์ทริน (cluster dextrin).
Subject : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร -- องค์ประกอบ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1796
Author : คมสัน ทินกร ณ อยุธยา.
Source : หมอชาวบ้าน 40, 469 (พ.ค. 2561) 30-34
Abstract : ในความรู้การแพทย์แผนไทย รสร้อนจะช่วยกระจายลม ช่วยขับลม อาหารไทยจึงถูกปรุงแต่งด้วยรสร้อน อาหารรสร้อนช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้อาหารถูกย่อยอย่างมีคุณภาพมากขึ้น สารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น ระบบเลือดไหลเวียนดี ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งอาหารไทยมีรสร้อนจากเครื่องเทศที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น อาหารประเภทต้มยำ ใช้ข่า ตะไคร้ อาหารประเภทแกงใช้ลูกผักชี ยี่หร่า กระวาน อบเชย พริกแห้ง พริกสด กระเทียม หอมแดง เป็นต้น.
Subject : การแพทย์แผนไทย. อาหารไทย. อาหารเพื่อสุขภาพ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1770
Source : หมอชาวบ้าน 40, 469 (พ.ค. 2561) 58
Abstract : ปัจจุบันมีเครื่องปรุงรส เช่น ซีอิ๊ว ผงปรุงรส ผงชูรส รวมถึงอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ล้วนมีเกลือโซเดียม เป็นส่วนประกอบโดยคนไทยบริโภคเกลือโซเดียมโดยเฉลี่ย 4,351.70 มิลลิกรัมต่อวัน หรือมากกว่า 2 ช้อนชา เกินกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 2,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา ต่อวัน ซึ่งการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยเสี่ยง อันดับ 2 ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคไต หัวใจ เบาหวาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม จะช่วยป้องกันโรคดังกล่าวได้.
Subject : อาหารเค็ม -- แง่อนามัย.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 6821
Author : กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
Source : FOOD FOCUS THAILAND 13, 150 (ก.ย. 2561) 25-27
Abstract : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ.2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง โดยได้ปรับปรุงข้อกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างในอาหารต่างๆ ให้ครอบคลุมเหมาะสมเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ระบบการควบคุมการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรมีความปลอดภัยในการคุ้มครองผู้บริโภค และสอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกันของประเทศ โดยยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ฉบับเดิมทั้ง 2 ฉบับ ปรับปรุงและเพิ่มนิยามเพื่อให้ชัดเจนครอบคลุมขึ้น กำหนดปริมาณสารพิษตกค้าง วิธีการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในอาหาร บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนจำหน่ายอาหารที่มีสารพิษตกค้าง เป็นต้น.
Subject : สารพิษตกค้างในอาหาร. วัตถุอันตราย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.