- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2111
Author : กนกพร หมีทอง.
Source : เส้นทางเศรษฐี 25, 440 (พ.ค. 2562) 76-77
Abstract : MINIDISH CANDY เป็นลูกอมรสอาหารไทยที่มีทั้งหมด 4 รสชาติ คือ รสต้มยำ ลาบ กะเพรา และแกงเขียวหวาน ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐานจนสามารถวางจำหน่ายในกูร์เมต์ มาร์เก็ต และเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวยุโรปด้วย.
Subject : ลูกกวาดรสอาหารไทย. ลูกกวาด -- รสลาบ – รสต้มยำ.
แหล่งที่มาของภาพ : https://mgronline.com
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1905
Author : ภาวิณี เทียมดี และกนกวรรณ พุ่มนารินทร์.
Source : วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 43, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 517-528
Abstract : งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการใช้ซอร์บิทอลเป็นพลาสติกไซเซอร์ต่อสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของฟิล์มเคลือบผิวจากแป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินเพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยน้ำว้า ส่วนผสมฟิล์มพื้นฐานเตรียมโดยการละลายแป้งมันสาคูเม็ด (3%w/v) และเจลาติน (3%w/v) ในน้ำกลั่น เติมซอร์บิทอลที่ความเข้มข้นต่างกัน 6 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40, และ 50 %w/v ขึ้นรูปแผ่นฟิล์มในจานแก้วและทำให้แห้ง ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าความหนาของแผ่นฟิล์ม ทุกตัวอย่างมีค่าเพิ่มขึ้นตามลำดับจาก 0.08 ถึง 0.19 มิลลิเมตร ตามความเข้มข้นของ ซอร์บิทอลที่เพิ่มขึ้น ค่า aw ของแผ่นฟิล์มอยู่ระหว่าง 0.42 และ 0.55 ค่าการซึมผ่าน ของไอน้ำ การละลาย และความอ่อนนุ่มของแผ่นฟิล์มทุกตัวอย่างเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณ ซอร์บิทอลเพิ่มขึ้น หลังจากฝังแผ่นฟิล์มลงในดิน (ลึก 6-8 เซนติเมตร) เป็นเวลา 10 วัน พบว่าเกิดการย่อยสลายได้ร้อยละ 82.50-100 การเคลือบผิวกล้วยน้ำว้าด้วยฟิล์ม แป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินที่มีซอร์บิทอลร้อยละ 20 สามารถยืดอายุการเก็บรักษา ผลกล้วยน้ำว้าได้เพิ่มขึ้นจาก 3 วัน เป็น 9 วัน ที่อุณหภูมิห้อง ผลการทดลองแสดงให้ เห็นว่าฟิล์มเคลือบจากแป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินที่ใช้ซอร์บิทอลเป็นพลาสติกไซเซอร์ เป็นวัสดุย่อยสลายได้ทางธรรมชาติและอาจใช้ยืดอายุการเก็บรักษากล้วยน้ำว้าได้.
Subject : เจลาติน. ผลิตภัณฑ์อาหาร. ซอร์บิทอล.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2888
Author : ธนภักษ์ อินยอด.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว 35, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 42-45
Abstract : เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายและมีราคาแพง แต่ในปัจจุบันเห็ดโคนญี่ปุ่นมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ด้วยบางสภาพอากาศในพื้นที่อากาศร้อนจัด ทำให้เห็ดเจริญเติบโตทางด้านเส้นใยมากกว่าเกิดดอก จึงส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ลดลง ส่วนคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการนั้นจะดีหรือด้อย ปัจจัยหลักสำคัญอย่างหนึ่งคือการขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต รวมถึงปัญหาการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จึงได้ศึกษาการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เห็ดโคนญี่ปุ่นเพื่อเพาะในเขตพื้นที่ราบ โดยรวบรวมสายพันธุ์เห็ดโคนญี่ปุ่นเพื่อใช้สำหรับทดสอบ นำมาปรับปรุงพันธุ์โดยกระบวนการฉายรังสี พบว่าเชื้อเห็ดที่ผ่านการฉายรังสีและเจริญเป็นเส้นใยใหม่และมีชีวิตรอดจากการบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส คาดว่าจะกลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมาและทนความร้อนได้ และส่วนใหญ่ให้ผลผลิตและปริมาณโปรตีนมากกว่าเห็ดโคนญี่ปุ่นสายพันธุ์แม่ รวมถึงคุณภาพของดอกเห็ด มีขนาดใหญ่ขึ้นที่ดีกว่าสายพันธุ์แม่.
Subject : เห็ด. เห็ดที่เป็นอาหาร. อาหาร. เห็ด – การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ.
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.thaigreenagro.com
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2996
Author : ศานต์ เศรษฐชัยมงค.
Source : วารสารเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยสยาม 16,1(ม.ค.-มิ.ย.2564)10-31
Abstract : กระแสความนิยมของกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาพและคานึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้แนวโน้มการตลาดของผลิตภัณฑ์ “เกษตรอินทรีย์” หรือ “ออร์แกนิค” เติบโตอย่างต่อเนื่องและจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ “พรีเมี่ยม” ที่มีมูลค่าสูง จึงจาเป็นต้องมีการพัฒนาวิธีตรวจสอบคุณภาพสาหรับป้องกันการปลอมปนสินค้าเกษตรทั่วไปเพื่อขายเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ เมตาโบโลมิกส์ (metabolomics) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลสารเมตาบอไลต์โดยรวม (metabolite profile) หรือ เมตาโบโลม (metabolome) ซึ่งเปรียบเสมือนลายพิมพ์ระดับโมเลกุล (molecular fingerprint) ของระบบชีวภาพที่สนใจ ในบทความปริทัศน์นี้จึงขอนาเสนอความก้าวหน้าทางวิชาการในการระบุอัตลักษณ์ทางชีวโมเลกุลของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว โดยครอบคลุมหลักการเบื้องต้นของการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์ในการศึกษาวิจัยทางด้านเกษตรและอาหาร (foodomics) การอภิปรายตัวอย่างงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบสารเมตาบอไลต์ในผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแปรรูปทั้งที่ได้จากพืชและปศุสัตว์ การวิเคราะห์สารเมตาบอไลต์ที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ชีวภาพ (biomarker) เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไป รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารดังกล่าวต่อคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ โดยข้อมูลเชิงลึกที่ได้จะเป็นพื้นฐานสาคัญในการพัฒนาวิธีตรวจสอบคุณภาพเพื่อระบุอัตลักษณ์ทางชีวโมเลกุล (food authentication) ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารอินทรีย์ในอนาคตต่อไป
Subject : ชีวโมเลกุล. ผลิตภัณฑ์. เกษตร. ออร์แกนิค. อาหาร. เกษตรอินทรีย์. โมเลกุล.