ชื่อบทความ : กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการทำลายผึ้งที่เป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือผึ้งหรือซากผึ้งที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2561
ชื่อเอกสาร : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 129 ง (6 มิ.ย.61) หน้า 10-12 (เอกสารภาษาไทย ชั้น 5) Full-Text
ขอบข่าย : ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “โรคระบาด” หมายความว่า โรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ “พาหะของโรคระบาด” หมายความว่า พาหะของโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ “สัตวแพทย์” หมายความว่า สัตวแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ “ผึ้งที่เป็นโรคระบาด” หมายความว่า ผึ้งที่ได้รับเชื้อโรคระบาดทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ “ผึ้งที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด” หมายความว่า ผึ้งที่สัตวแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผึ้งที่มาจากแหล่งที่เกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่ามีโรคระบาดและมีโอกาสสัมผัสกับ เชื้อโรคระบาด (2) เป็นผึ้งที่ไม่ทราบแหล่งที่มาและมีอาการคล้ายโรคระบาด “ผึ้งที่เป็นพาหะของโรคระบาด” หมายความว่า ผึ้งที่ไม่ปรากฏอาการของโรคระบาดแต่มี เชื้อโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้รับเชื้อโรคระบาดซึ่งอาจติดต่อคนหรือสัตว์อื่นได้ . . .
หมายเหตุ : ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการทำลายผึ้งที่เป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือผึ้งหรือซากผึ้งที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2561