ชื่อบทความ : ลักษณะและเงื่อนไขการป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย และการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินจากสถานที่ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล พ.ศ. 2560
ชื่อเอกสาร : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 323 ง (28 ธ.ค.60) หน้า 17-20 (เอกสารภาษาไทย ชั้น 5) Full-Text
ขอบข่าย : ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ลักษณะและเงื่อนไข การป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย และการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินจากสถานที่ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล พ.ศ. 2560” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “การป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยของสถานที่ฝังกลบมูลฝอย” หมายความว่าการออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินการของสถานที่ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่มีการป้องกันไม่ให้น้ำชะมูลฝอยไหลลงสู่ดินและน้ำใต้ดิน “วัสดุกันซึม” หมายความว่า วัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีอัตราการไหลซึมต่ำ ใช้ปูพื้นก้นหลุมและผนังด้านข้างของหลุมฝังกลบ รวมถึงบ่อบำบัดน้ำชะมูลฝอย เช่น ดินเหนียว วัสดุสังเคราะห์ประเภทแผ่นโพลีเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene : HDPE) ดินเหนียวสังเคราะห์(Geosynthetic Clay Liner : GCL) เป็นต้น . . .
หมายเหตุ : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ลักษณะและเงื่อนไขการป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย และการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินจากสถานที่ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล พ.ศ. 2560