คำตอบ
เนื่องจากเวลาหุงข้าวเหนียวด้วยรูปแบบกรวยทรงรี ก้นลึก พบว่าเป็นอุปสรรคที่ทำให้ข้าวเหนียวสุกช้าและต้องกลับข้าวด้านบนลงด้านล่าง เพราะไอน้ำไม่สามารถเข้าถึงตรงกลางและด้านบนของหวดได้ จึงได้มีการปรับรูปทรง จนพบว่าการสานหวดเป็นทรงกลมแล้วดันกรวยให้กลับด้านมาอยู่ด้านในหวดกลายเป็นปล่องตรงกลาง ประมาณ 3 ใน 4 ของ หวด เมื่อนำไปหุงข้าวเหนียว พบว่า ใช้เวลาในการหุงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากเวลาปกติ และทำให้ข้าวสุกอย่างทั่วถึงโดยไม่ต้องกลับ เนื่องมาจากกล่องกรวยตรงกลางที่ดันขึ้นเป็นตัวส่งไอน้ำเข้าถึงด้านในของข้าว และสามารถใช้หวดประหยัดพลังงานนี้กับหม้อทำอาหารทั่วไป แทนการใช้หม้อคอช้างได้
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ. วันนักประดิษฐ์ 2559 กับผลงานบรรเจิด จากนักประดิษฐ์ไทย. เทคโนโลยีชาวบ้าน. ปีที่ 28, ฉบับที่ 618 (มีนาคม) 2559, หน้า 89.