คำตอบ

โดยทั่วไปมักแบ่งประเภทของใยอาหารเป็น 2 ประเภท คือ 1) ใยอาหารที่ละลายน้ำ 2) ที่ไม่
ละลายน้ำ กลุ่มใยอาหารที่ละลายน้ำได้ประกอบด้วย กัม สารเมือก เบต้า-กลูแคน เพกทิน และเฮมิเซลลูโลสบางชนิด ใยอาหารกลุ่มนี้มักพบในถั่วทุกชนิด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ผักและผลไม้บางประเภท เช่น แอปเปิ้ล ส้ม และแครอท รวมถึงใยอาหารจากเมล็ดไซเรียม  ซึ่งช่วยเพิ่มการขับถ่ายและช่วยลดคอเลสเทอรอลประเภท LDL สำหรับใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ มักเป็นส่วนที่เป็นโครงสร้างของผนังเซลล์พืช ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสส่วนที่หลือและลิกนิน (พอลิเมอร์ที่ซับซ้อนของ Coniferyl alcohol) และสารตั้งต้นของ Phenylpropanoid อื่น ๆ จึงไม่จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต) แหล่งสำคัญของใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ ธัญพืชทั้งเมล็ด รำข้าวสาลี และผักต่าง ๆ เช่น กะหล่ำดอก ถั่วแขก และมันฝรั่ง เป็นต้น อาหารส่วนใหญ่ที่เป็นแหล่งของใยอาหารมักมีองค์ประกอบของใยอาหารทั้งสองประเภท แต่อาจมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์.  “ใยอาหาร : ความหมาย วิธีวิเคราะห์และการกล่าวอ้าง”.  Food Focus Thailand.  ปีที่ 8, ฉบับที่ 85, (เมษายน) 2013 หน้า 30.