คำตอบ

เทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิสชัน (Transmission Electron Microscopy, TEM) ใช้ลำอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ทะลุและเลี้ยวเบนผ่านตัวอย่างมาสร้างเป็นภาพ ทำให้สามารถศึกษาโครงสร้างจุลภาค สัณฐานของอนุภาค โครงสร้างผลึก รวมถึงองค์ประกอบทางเคมี (หากใช้ร่วมกับเอเนอร์จีดิสเพอร์ซีฟเอกวเรย์สเปกโทรเมตรี (energy dispersive x-ray spectrometry)) และข้อมูลเกี่ยวกับพันธะของอะตอม (หากใช้ร่วมกับอิเล็กตรอนเอเนอร์จีลอสสเปกโทรเมตรี (electron energy loss spectrometry)) ตัวอย่างที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ควรมีขนาดหรือพื้นที่ต้องการวิเคราะห์ต่ำกว่าระดับไมโครเมตร มีการนำ TEM ไปใช้ในหลายสาขา เช่น วัสดุศาสตร์ การแพทย์ โบราณคดี ชีววิทยา นาโนเทคโนโลยี และอุตสาหกรมมอิเล็กทรอนิกส์

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

บราลี ชยสมบัติ. การใช้เทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิสชันในงานด้านต่างๆ. เทคโนโลยีวัสดุ. ฉบับที่ 76, มกราคม – มีนาคม 2558. หน้า 22-23.