คำตอบ

ปฏิกิริยาที่สามารถวิเคราะห์ได้โดยวิธีการไทเทรตมีหลายชนิด เช่น
1.ปฏิกิริยากรด-เบส (Acid-Base) เช่น การหาปริมาณกรดในน้ำผลไม้ การวิเคราะห์ค่าความเป็นด่างในน้ำ (Alkalinity) การวัดค่าความเป็นกรด (Total Acid Number : TAN) และการวัดค่าความเป็นด่าง (Total Base Number : TBN) ในน้ำมันปิโตรเลียม การวัดค่าความเป็นกรด (Acid value)  ในน้ำมันพืช หรือการวิเคราะห์หาสารสำคัญในยา เป็นต้น
2.ปฏิกิริยาการตกตะกอน (Precipitation) เช่น การไทเทรตหาไอออนกลุ่มคลอไรด์ (Chloride) โดยจะใช้ซิลเวอร์ไนเตรทเป็นสารไทแทรนท์ แต่ส่วนมากมักจะใช้หาเปอร์เซ็นต์เกลือในอาหาร เป็นต้น
3.ปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox) เช่น การไทเทรตหาค่าเพอร์ออกไซด์ (Peroxide value) ที่มีอยู่ในน้ำมันและไขมัน การวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินซี และการวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (Biological Oxygen Demand : BOD) ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (Chemical Oxygen Demand : COD) เป็นต้น
4.ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน (Complexometric) เป็นปฏิกิริยาที่ใช้ตรวจหาธาตุโลหะ (Metal) ต่าง ๆ เช่น แคลเซียม (Calcium) แมกนีเซียม (Magnesium) สังกะสี (Zinc) ทองแดง (Copper) เป็นต้น การหาปริมาณธาตุโลหะต่าง  ๆ ในอาหารเสริมสำหรับพืช การวิเคราะห์ ค่าความกระด้างทั้งหมด (Total  hardness) ในน้ำ แร่ที่ได้จากการถลุง หรือโรงงานชุบโลหะ เป็นต้น

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เพ็ญพร เนียมหอม.  วิเคราะห์น้ำมันทอดซ้ำ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค.  FOOD FOCUS THAILAND. ปีที่ 6, ฉบับที่ 68, (พฤศจิกายน) 2554, หน้า 44-45.