คำตอบ

ปัจจัยที่ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างไม่เท่ากันมีหลายสาเหตุ เช่น 
1.หัววัดหรืออิเล็กโทรดที่ใช้ ซึ่งการเลือกใช้อิเล็กโทรดแต่ละประเภทจะขึ้นกับชนิดและลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัดเป็นสำคัญ
2.การปรับเทียบอิเล็กโทรดก่อนใช้งานเพื่อตรวจสอบและบันทึกประสิทธิภาพของอิเล้กโทรดก่อนเริ่มใช้งาน ความถี่ในการปรับเทียบจะมีผลโดยตรงต่อความแม่นยำของค่าที่วัดได้ ยิ่งปรับเทียบบ่อยก็จะได้ค่าที่แม่นยำยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับเทียบนี้จะต้องทำอย่างน้อยวันละครั้ง
3.สารละลายบัฟเฟอร์ เป็นสารมาตรฐานที่นำมาใช้ปรับเทียบอิเล้กโทรด เนื่องจากเป็นสารมาตรฐานจึงควรเป็นบัฟเฟอร์ใหม่ทุกครั้งเพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อน และจะต้องอ้างอิงอุณหภูมิของบัฟเฟอร์นั้น ๆ ด้วย
4.อุณหภูมิตัวอย่างที่วัด สารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นกรดด่างที่ต่างกัน หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำบริสุทธิ์ เมื่อมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 0C ถึง 100 C ค่าความเป็นกรดด่างจะเปลี่ยนเป็น 1.34 ตามค่าสัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ
ดังนั้น การวัดค่าความเป็นกรดด่างเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องวัดอุณหภูมิ หรือ
ควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างด้วย นอกจากการเลือกอิเล็กโทรด การปรับเทียบ แลอุณหภูมิแล้ว การเก็บตัวอย่างและการดูแลรักษาอิเล็กโทรดยังมีผลให้การวัดถูกต้องและแม่นยำขึ้นอีก

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

นพรัตน์ ทองผดุงโรจน์.  “เพิ่มความมั่นใจในการวัดค่าความเป็นกรดด่างได้อย่างไร”.  FOOD FOCUS THAILAND.  ปีที่ 7, ฉบับที่ 75, (มิถุนายน) 2012, หน้า 72-73.