คำตอบ
การรีไซเคิลยางด้วยวิธีการทางเคมีหมายถึง การนำขยะหรือเศษยางซึ่งเป็นโพลิเมอร์สายโซ่ยางไปผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อทำให้สายโซ่โมเลกุลของยางเกิดการตัดขาดกลายเป็นสายโซ่สั้น ๆ ทำให้ยางที่เคยมีน้ำหนักโมเลกุลสูง (อยู่ในสภาวะของแข็ง) กลายเป็นโมโนเมอร์ (monomer) หรือโอลิโกเมอร์ (okigomer) ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำและอยู่ในสภาวะของเหลว
กระบวนการทางเคมีที่นิยมใช้ในการรีไซเคิลยางก็คือ ไพโรไลซิส (pyrolysis) หรือการใช้ความร้อนเพื่อทำให้โมเลกุลยางเกิดการแตกตัวกลายเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กและสั้นลง ในการทำไพโรไลซิส ยางจะได้รับความร้อนในช่วง 500-700 C ภายใต้สภาวะที่ปราศจากอากาศหรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งโมเลกุลยางเกิดการแตกตัวกลายเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก (อาจมีสารประกอบอื่น ๆ เช่น แอลกอฮอล์ ปนอยู่ด้วยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยาง) เนื่องจากการทำให้ไพโรไลซิสต้องใช้อุณหภูมิที่สูงและต้องทำภายใต้ระบบสุญญากาศ (หรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย) จึงทำให้การทำไพโรไลซิสมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
พงษ์ธร แซ่อุย. “เทคโนโลยีการรีไซเคิลยาง”. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง. ปีที่ 3, ฉบับที่ 3, (กรกฏาคม-กันยายน) 2552, หน้า 5.