คำตอบ
1. การใช้ยางพาราผสมยางมะตอยเพื่อปรับปรุงสมบัติของยางมะตอยในปริมาณร้อยละ 5 ของเนื้อยางแห้ง ต่อน้ำหนักยางมะตอย ทำให้ค่าจุดอ่อนตัว ค่าการคืนตัวกลับ ค่าความเหนียว ค่าแรงยืดจนขาด ค่าความหนืด และค่าความไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งค่าเหล่านี้สามารถเป็นข้อบ่งชี้ว่าถนนที่ราดด้วยยางมะตอยที่ปรับปรุงสมบัติด้วยยางพาราในอัตราร้อยละ 5 มีความแข็งแรงและความทนทานเพิ่มขึ้น อีกทั้งค่าความหนืดที่เพิ่มขึ้นก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในโรงผสม แต่จะต้องใช้เครื่องผสมที่มีเหมาะสมและประสิทธิภาพที่ดี
2. ถนนที่ได้จากการใช้ยางมะตอยผสมยางพาราอัตราร้อยละ 5 มีค่าความเสถียรภาพดีกว่าและทนต่อการเกิดร่องล้อได้ดีกว่าถนนที่ได้จากการใช้ยางมะตอยปกติถึง 2.9 เท่า
3. ถนนยางมะตอยผสมยางพาราหน้ากรมวิทชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2545 พบว่า ในปี พ.ศ.2548-2549 ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยปกติ ผิวถนนชำรุด แต่ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยผสมยางพารายังอยู่ในสภาพที่ดีจนถึงปัจจุบัน
4. ผสสาธิตราดผิวถนนในหน่วยงานกรมวิชาการเกษตรปี 2547-2549 ถนนในทุกพื้นที่ยังอยู่ในสภาพที่ดี
5. ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยผสมยางพาราร้อยละ 5 สาย สนามชัย-ท่าตะเกียบ ตั้งแต่ปี 2545 ระยะทาง 200 เมตร ปัจจุบันยังไม่ต้องซ่อมบำรุงและใช้ได้ดีตามปกติ ดังนั้นการราดถนนด้วยยางมะตอยผสมยางพาราจะทำให้ถนนมีความทนทานมากกว่าการราดด้วยยางมะตอยปกติ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณใช้ยางภายในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ณพรัตน์ วิชิตชลชัย และ อดุลย์ ณ วิเชียร. “การใช้ยางพาราผสมยางมะตอย”. วารสารยางพารา. ปีที่ 34, ฉบับที่ 4, (ตุลาคม-ธันวาคม) 2556, หน้า 25-27.