คำตอบ

ในการผลิตกาวจากยางธรรมชาตินั้น ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ ยางธรรมชาติและแทกทิไฟเออร์เรซิน (Tackifier Resin) โดยตัวแทกทิไฟเออร์เรซินมีหน้าที่ไปลดแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล (Cohesiveness) ของเนื้อยาง และทำให้เพิ่มแรงยึดติดภายนอกระหว่างโมเลกุล (Adhesiveness) ของเนื้อยางให้มีความสามารถยึดติดกับพื้นผิววัสดุอื่น ๆ ได้มาก ทั้งนี้แทกทิไฟเออร์เรซินเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการยึดติด (Tzck) และการลอกออก (Peel) ของกาวประเภทที่ไวต่อแรงกด (Pressure Sensitive Adhesive, PSA) ในปัจจุบันมีใช้วัสดุอื่น ๆ ที่ได้จากการสังเคราะห์เพื่อเป็นวัตถุดิบ แต่ข้อด้อยที่สำคัญของกาวที่ทำมาจากยางธรรมชาติคือ ไม่ทนทานต่อสภาพการนำไปใช้งาน เช่น สภาวะแวดล้อมที่มีแสงแดด เมื่อใช้งานที่ได้รับแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดเป็นสีเหลืองขึ้น เนื่องจากโครงสร้างหลักที่เป็นยางธรรมชาติชนิดไม่อิ่มตัวหรือมีพันธะคู่นั่นเอง สามารถลดปัญหานี้ด้วยการเติมสารป้องกันการเกิดออกซิเดชัน (Oxidation) หรือแอนติออกซิแด้น

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

สอาด ริยะจันทร์และณฐพนธ์ ภูผิวแก้ว. กาวหรือสารยึดติดจากยางธรรมชาติ. พัฒนาเทคนิคศึกษา. ปีที่ 21, ฉบับที่ 70 (เมษายน-มิถุนายน) 2552, หน้า 18.