Sourceวารสารกรมประชาสัมพันธ์ 25, 257 (ม.ค.-มี.ค. 2562) 15-18
Abstract : กะเพราพันธุ์พื้นบ้านสามารถแบ่งกลุ่มตามลักษณะภายนอกได้ 3 ชนิด คือ กะเพราขาว กะเพราแดง และกะเพราผสมระหว่างกะเพราขาวและกะเพราแดง ในบางพื้นที่เรียกว่า กะเพราป่า กะเพราทั้งสามสายพันธุ์นี้มีความหอมกว่าพันธุ์กะเพราที่ปลูกเป็นการค้า กะเพรามีสารน้ำมันทำให้มีรสชาติดีและกลิ่นหอม โดยกะเพราป่ามีน้ำมันหอมระเหย 0.18-0.46 เปอร์เซ็นต์ กะเพราแดงและกะเพราขาวมีน้ำมันหอมระเหย 0.18-0.26 และ 0.14-0.31 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยของกะเพรามี eugenol เป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงถูกนำมาใช้เป็นยาอายุรเวชเพื่อปรับสมดุลของความเครียด กะเพรามีสรรพคุณในการรักษาไข้หวัด โรคหอบ หลอดลมอักเสบ โรคเบาหวาน อาหารปวดหู ปวดศรีษะ ตลอดจนช่วยต้านพิษงูและแมงป่องได้ด้วย เมื่อนำใบกะเพรามาประกอบอาหารจะช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารนั้นมีกลิ่นชวนรับประทานยิ่งขึ้น

Subjectข้าวผัดกะเพรา. กะเพรา. อาหาร -- ไทย.