FILE PHOTO: Tomatoes are seen at Hengda greenhouse in Shanghai

อังกฤษคิดค้นวิธีการตัดต่อพันธุกรรมมะเขือเทศ ให้เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีซึ่งมาจากพืชผักผลไม้ เพื่อเป็นทางเลือกเสริมวิตามินดีจากธรรมชาติสำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ได้

.

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า two medium-sized tomatoes a day could keep the doctor away หรือ การรับประทานมะเขือเทศผลขนาดกลางวันละสองลูกจะช่วยให้มีสุขภาพดี

.

A researcher holds a gene-edited vitamin D tomato on the left and a regular tomato on the right at the John Innes Centre in Norwich

ทีมวิจัยที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ John Innes Centre ในเมืองนอริช ได้แก้ไขลักษณะทางพันธุกรรมของมะเขือเทศให้อุดมไปด้วยวิตามินดี ซึ่งเป็นตัวควบคุมสารอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียมที่มีความจำเป็นต่อการรักษากระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

.

แม้ว่าวิตามินดีจะสามารถสร้างขึ้นมาในร่างกายของคนเราหลังจากที่ได้รับแสงแดด แต่แหล่งวิตามินดีหลัก ๆ ก็คืออาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในผลิตภัณฑ์จากนมและเนื้อสัตว์

.

นักวิจัยกล่าวว่า การมีระดับวิตามินดีต่ำ มีความสัมพันธ์กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากมายตั้งแต่โรคมะเร็งไปจนถึงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 1 พันล้านคนทั่วโลก

.

ตามธรรมชาติแล้ว ใบของมะเขือเทศนั้น มี 7-DHC ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินดี 3 และวิตามินดี 3 ถือว่าเป็นสารอาหารดีที่สุดในการเพิ่มระดับวิตามินดีในร่างกายของคนเรา

.

นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือ Crispr ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำงานเหมือนกรรไกรตัดแต่งพันธุกรรม ในการปรับแต่งจีโนมของมะเขือเทศเพื่อให้มีการสะสมของสาร 7-DHC อย่างมากในผลมะเขือเทศและในใบของมัน

.

นักวิจัยได้เขียนบทความที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature Plants ซึ่งระบุว่า เมื่อใบและผลมะเขือเทศที่หั่นบาง ๆ ได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง มะเขือเทศหนึ่งลูกจะมีระดับวิตามินดีเทียบเท่ากับไข่ขนาดกลาง 2 ฟองหรือทูน่า 28 กรัม (1 ออนซ์) เลยทีเดียว

.

ทั้งนี้ อาหารเสริมวิตามินดี 3 ส่วนใหญ่มาจากลาโนลินซึ่งสกัดจากขนแกะ ซึ่งวิธีเสริมวิตามินแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ทานมังสวิรัติ แต่ไม่เหมาะสำหรับสายวีแกน ซึ่งไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์เลย

.

ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังประเมินว่า แสงแดดสามารถเปลี่ยน 7-DHC ให้เป็นวิตามินดี 3 ได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนการใช้แสงอัลตราไวโอเลตได้หรือไม่

.

กฎระเบียบข้อบังคับใหม่ ๆ ในประเทศอังกฤษได้เปิดโอกาสให้นักวิจัยสามารถประเมินทฤษฎีนี้ได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะก่อนที่จะพร้อมวางจำหน่ายมะเขือเทศดังกล่าวตามซุปเปอร์มาร์เก็ต

.

จี ลี (Jie Li) หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า เพื่อเป็นการลดปัญหาของการบริโภควิตามินดีจากแหล่งอาหารต่าง ๆ ในปัจจุบัน การรับประทานมะเขือเทศที่ได้รับการตัดต่อยีนขนาดกลางสองลูกก็น่าจะเพียงพอแล้ว และกล่าวเสริมด้วยว่า การที่จะแยกมะเขือเทศที่ตัดแต่งยีนออกจากมะเขือเทศตามธรรมชาติได้นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะมะเขือเทศชนิดนี้มีรสชาติเหมือนกับมะเขือเทศทั่ว ๆ ไป

Jie Li, lead author of a study on gene-edited vitamin D tomatoes, examines tomato plants, in Norwich

ที่มา : voathai https://www.voathai.com/a/scientists-make-way-for-gene-edited-tomatoes-as-vegan-source-of-vitamin-d/6595925.html