ทรัพยากรทางทะเล เป็นแหล่งต้นทางความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญของโลก แต่ทุกวันนี้ ... ท้องทะเลและมหาสมุทรได้รับผลกระทบหนักจากปัญหา"ขยะทะเล" อาทิ ขยะพลาสติก ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ ปัญหาขยะทะเล ยังส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนอีกด้วย

.

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ตระหนักถึงความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร และดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง จึงได้ทำโครงการ "CPF Restore the Ocean” ขึ้น เพื่อช่วยกันเก็บขยะทะเลมาสู่การจัดการอย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามเป้าหมาย ‘Waste to Value สร้างคุณค่าปราศจากขยะ"

.

เป็นความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ ภายใต้กลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action มุ่งสู่การลดขยะเป็นศูนย์ ภายในปี 2030 และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) แห่งสหประชาชาติ

.

เมื่อเร็วๆ นี้ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการฯ ร่วมด้วยคณะผู้บริหารของซีพีเอฟ พนักงาน และตัวแทนภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับบริษัท อาทิ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านข้อมูลการบริหารจัดการขยะ

.

ประธานคณะผู้บริหาร กล่าวว่า หนึ่งในธุรกิจหลักของซีพีเอฟ เป็นธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์น้ำ เรามีการจัดทำโครงการที่หลากหลาย ทั้งโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน การเก็บขยะในทะเล ที่สำคัญ ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย บริษัทเอกชน รวมถึงภาครัฐที่เข้ามามีส่วนร่วม ช่วยทำให้กลยุทธ์ด้าน ESG (Environmental Social Governance) ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

.

สำหรับโครงการ "CPF Restore the Ocean” เป็นความมุ่งมั่นที่ซีพีเอฟสร้างความตระหนักสู่พนักงาน มีส่วนร่วมแก้ปัญหาขยะทะเลครอบคลุมชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งมีการทำกิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมกับดักขยะทะเล (Trap the SeaTrash )

.

กิจกรรมเก็บขยะชายหาด และกิจกรรมเก็บขยะท่าเรือ(สนับสนุนกรมประมงดำเนินโครงการขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา และกิจกรรมขยะดี มีค่า ในโครงการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา Fishermen Life Enhancement Center :FLEC)

.

กิจกรรมกับดักขยะทะเล เน้นสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนลดการทิ้งขยะ ส่งเสริมให้ชุมชนมีการเก็บ คัดแยกขยะ การใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดปริมาณขยะตั้งแต่คูคลองในชุมชน และป่าชายเลนริมฝั่งทะเล ปัจจุบัน ดำเนินการแล้วในพื้นที่นำร่อง คือ ต.บางหญ้าแพรกจ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน "ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน" ส่งผลต่อการลดปริมาณขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องทะเล ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2565 เก็บขยะไปแล้ว 2,850 กิโลกรัม

.

กิจกรรมเก็บขยะชายหาด เก็บขยะที่เกยตื้นบริเวณชายหาด ซึ่งที่ผ่านมาสถานประกอบการซีพีเอฟดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เช่น ฟาร์มเลี้ยงกุ้งภาคใต้ โรงเพาะกุ้งเขตตะวันออก โรงเพาะฟักลูกกุ้งปะทิว โรงเพาะฟักลูกกุ้งเขตอ่าวไทย โรงเพาะฟักลูกกุ้ง เขตอันดามัน โดยในปี 2565 ได้พัฒนาต่อยอดสู่โครงการเพื่อแยกขยะ นำขยะไปกำจัดสู่การแยกประเภทเพื่อการพัฒนา ขยะที่เก็บได้ ถูกจัดการอย่างเหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์

.

เสื้อยูนิฟอร์มอัพไซคลิ่ง

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเก็บขยะท่าเรือ ประกอบด้วย โครงการขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา ซึ่งซีพีเอฟต่อยอดการดําเนินงานเปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ จากการแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล นำขวดพลาสติกที่เก็บรวบรวมมาจากทะเล มาผลิตเป็นเสื้อยูนิฟอร์มอัพไซคลิ่ง แจกให้แก่พนักงานในธุรกิจสัตว์น้ำของซีพีเอฟในไทย สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะทะเล และร่วมดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน เป็นเสื้อสีโทนน้ำทะเล เพื่อสื่อถึงวัสดุต้นทางของเสื้อที่แปลงจากขวดพลาสติกซึ่งเก็บมาจากท้องทะเล ซึ่งปัจจุบันผลิตเสื้อโปโล PET รีไซเคิลแล้ว 1,337 ตัว

.

และกิจกรรม ขยะดี มีค่า เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา(FLEC) ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ที่ซีพีเอฟ ร่วมกับ 6 ภาคีเครือข่ายจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัว โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ดำเนินการ คือ กิจกรรมขยะดี มีค่า ส่งเสริมการคัดแยกขยะ และนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ในรูปแบบการดำเนินงาน"เก็บ-แยก (รีไซเคิล) -แลก-รับ" คือ เก็บขยะ นำขยะมาคัคแยก และนำขยะมาแลกสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ซีพีเอฟร่วมกับ บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP จัดอบรมให้ความรู้แรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัว เรียนรู้การคัดแยกขยะถูกต้อง เปลี่ยนขยะให้มีค่า สร้างการมีส่วนร่วมของแรงงานข้ามชาติในการแก้ปัญหาขยะชายฝั่งและขยะทะเล

.

ภายใต้วิสัยทัศน์ เป็น"ครัวของโลก" ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนโครงการ "CPF Restore the Ocean" รวมพลังปกป้องและพิทักษ์ระบบนิเวศทางทะเล มุ่งสู่เป้าหมายสร้างคุณค่าปราศจากขยะ (Waste to Value)

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000083777