กระบวนการนำ เครื่่องกรองน้ำ reverse osmosis ใต้ทะเลของ Waterise ลงใต้น้ำ

การเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำสะอาดที่สามารถดื่มได้เป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งในการตอบสนองต่อความต้องการน้ำที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก แต่กระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล ซึ่งเป็นการสกัดเกลือและแร่ธาตุอื่น ๆ ออกจากน้ำทะเลนั้นเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องใช้พลังงานสูงมาก

.

แต่ วอเทอร์ไรซ์ (Waterise) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาตินอร์เวย์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นและจดสิทธิบัตรกระบวนการกรองน้ำด้วยระบบรีเวอร์ส ออสโมซิส (reverse osmosis) หรือ การกรองอย่างละเอียดเป็นชั้น ๆ โดยใช้เยื่อกรองชนิดพิเศษและแรงดันสูง ในแบบที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งต่างจากแบบปกติที่ใช้พลังงานสูงมากและมีค่าใช้จ่ายมาก

.

เครื่่องกรองน้ำ reverse osmosis ใต้ทะเลของ Waterise ก่อนนำลงใต้น้ำ

โรงงานแยกเกลือออกจากน้ำที่ตั้งอยู่ใต้ทะเลนอกชายฝั่งของวอเทอร์ไรซ์ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 400 เมตร และใช้แรงดันน้ำที่อยู่ด้านบนเพื่อช่วยลดความต้องการพลังงานลดลงได้อย่างมาก

.

นีลส์ เพ็ทเทอร์ ไรท์ (Niels Petter Wright) ซีอีโอของวอเทอร์ไรซ์ กล่าวว่า จุดที่ตั้งของโรงงานที่ใต้ทะเลและการใช้แรงดันในน้ำ ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ 30%-40% เลยทีเดียว และการออกแบบกระบวนการนี้ยังทำให้เหมือนกับว่า นี่ไม่ใช่การดันน้ำผ่านเยื่อกรองแต่เป็นการดึงน้ำออกมามากกว่าด้วย

.

ปัจจุบัน โรงงานแยกเกลือออกจากน้ำที่มีการทำงานสมรรถนะสูงระดับต้น ๆ ของโลกนั้นส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในแถบตะวันออกกลาง ที่ซึ่งพลังงานมีราคาถูกกว่าและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีความหละหลวมกว่าในประเทศอื่น ๆ

.

บริษัทวอเทอร์ไรซ์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีของตนช่วยลดความจำเป็นในการใช้ที่ดินตามชายฝั่งได้มากถึง 90% และลดการใช้พลังงานได้มากถึง 40% ซึ่งส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไปด้วย ขณะที่ การมีโรงงานใต้ทะเลที่ระดับความลึก 400 เมตรยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลในระดับที่ต่ำกว่าใคร ๆ ด้วย

.

เครื่่องกรองน้ำ reverse osmosis ใต้ทะเลของ Waterise

ในการทำงานของโรงงานที่วอเทอร์ไรซ์ออกแบบมานี้ มีการเชื่อมต่อโมดูลใต้ทะเลกับพื้นดินด้วยสายเคเบิลที่ให้พลังงานและใช้ในการสื่อสาร และมีการต่อท่อส่งน้ำจากก้นทะเลมาสู่พื้นดิน ซึ่งโดยปกติแล้ว จะสามารถผลิตน้ำจืดได้ถึงวันละ 50 ล้านลิตรเลยทีเดียว

.

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มลพิษที่เพิ่มสูงขึ้น ภาวะแล้งที่รุนแรงขึ้นเป็นประวัติการณ์และชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินที่หดตัว คือ ส่วนหนึ่งของปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกเราเผชิญกับภาวะล่อแหลมของวิกฤตน้ำในเวลานี้

.

และเมื่อสถานการณ์เลวร้ายลง ผู้คน ระบบนิเวศ และเศรษฐกิจ คือ ฝ่ายที่จะต้องรับภาระและผลกระทบที่หนักหน่วงขึ้น

.

ตัวอย่างของผลกระทบจากวิกฤตน้ำ

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดจากสถาบันทรัพยากรโลกประมาณการว่า หนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากวิกฤติด้านน้ำในระดับสูงขึ้นภายในปี 2050 นี้แล้ว

ที่มา : voathai https://www.voathai.com/a/low-carbon-subsea-tech-turns-seawater-into-freshwater/7343041.html