คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช เรียน 6 ปีได้รับ 2 ปริญญา ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่นิสิตจะได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตร่วมกับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ในระยะเวลาการศึกษา 6 ปี

.

ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดีด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทำให้จำเป็นต้องปรับบทบาทของมหาวิทยาลัย ทั้งในเรื่องของหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ซึ่งในเรื่องหลักสูตร สิ่งที่สำคัญเป็นเรื่องของโครงสร้างหลักสูตรที่จะต้องให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงการบริหารหลักสูตรให้มีความคล่องตัว ถ้าทำสองสิ่งนี้ให้สำเร็จเราจะสามารถปรับเปลี่ยนรายวิชาหรือการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนทักษะความรู้ที่สนใจซึ่งอาจเป็นความรู้ข้ามศาสตร์ทำให้ผู้เรียนสามารถทำงานและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

.

(จากซ้าย)ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดีด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และศ.ดร.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดีด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทำให้จำเป็นต้องปรับบทบาทของมหาวิทยาลัย ทั้งในเรื่องของหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ซึ่งในเรื่องหลักสูตร สิ่งที่สำคัญเป็นเรื่องของโครงสร้างหลักสูตรที่จะต้องให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงการบริหารหลักสูตรให้มีความคล่องตัว ถ้าทำสองสิ่งนี้ให้สำเร็จเราจะสามารถปรับเปลี่ยนรายวิชาหรือการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนทักษะความรู้ที่สนใจซึ่งอาจเป็นความรู้ข้ามศาสตร์ทำให้ผู้เรียนสามารถทำงานและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

.

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์” เป็นตัวอย่างแพลตฟอร์มการศึกษารูปแบบใหม่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เริ่มดำเนินการครั้งแรกร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ในโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา คือ ปริญญาตรีทันตแพทย์ - ปริญญาโท วิศวกรรมชีวเวช
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการศึกษาควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ให้ขยายผลไปยังคณะและนิสิตกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนนำความเข้มแข็งจากภายในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Growth from within) ต่อยอดไปเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อสังคม นิสิตสามารถสมัครเรียนหลักสูตรปริญญาโท สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ได้เมื่อเรียนรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรีทันตแพทย์ครบ 120 หน่วยกิต หรือเมื่อเรียนจบชั้นปีที่ 3 ซึ่งทำให้มีเวลาเรียนรู้และวางแผนชีวิตก่อนสมัครเรียนปริญญาโท โดยจะรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรในปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ปีละไม่เกิน 10 คน โดยจะมีทุนสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโทให้นิสิตด้วย

.

ศ.ดร.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่นิสิตจะได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตร่วมกับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ภายในระยะเวลาการศึกษา 6 ปี โดยในงานวิจัยของนิสิตจะมุ่งเน้นในการพัฒนาองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางวิศวกรรม เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การพิมพ์ 3 มิติด้วยวัสดุชีวภาพ (3D Bioprinting) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ความรู้ทางทันตแพทยศาสตร์ บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้จะสามารถเป็นทันตแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาทันตแพทยศาสตร์และวิศวกรรมชีวเวชที่สามารถสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากได้

.

หลักสูตรปริญญาตรีทันตแพทยศาสตร์ (ท.บ.) ควบข้ามระดับข้ามศาสตร์กับหลักสูตรปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) ถูกออกแบบการจัดการเรียนการสอนรองรับให้นิสิตสามารถเลือกเรียนรายวิชาเสริมองค์ความรู้และสมรรถนะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ตามช่วงชั้นปีที่เหมาะสมในระหว่างศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ โดยมีคณาจารย์จากทั้งสองคณะที่พร้อมให้คำแนะนำหัวข้อวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้นิสิตสามารถสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์และระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด

.

ทั้งนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังพร้อมสนับสนุนทุนการศึกษา การทำวิจัยให้กับนิสิตที่มีศักยภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตได้ตามเป้าประสงค์ โดยในเบื้องต้นมีนิสิตที่สนใจจะเรียนต่อในหลักสูตรนี้แล้ว 5 คน ซึ่งเป็นนิสิตที่กำลังเรียนปริญญาตรีสาขาทันตแพทยศาสตร์ของจุฬาฯ ในอนาคตได้วางเป้าหมายเอาไว้ว่าจะมีนิสิตเข้ามาเรียนหลักสูตรนี้ปีการศึกษาละ 10 คน

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9670000011189