AuthorMiss Bamberry, นามแฝง
Sourceวารสาร อพวช 16, 182 (ส.ค. 2560) 24-27
Abstractการรับประทานอาหารปิ้ง ย่าง อาหารรมควันเป็นประจำ เสี่ยงสะสมมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ เพราะ เพราะเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ สารไนโตรซามีน ที่พบในปลาหมึกย่าง อาหารที่ใส่สารไนไตรต ซึ่งเป็นสารกันบูด เช่น แหนม ไส้กรอก หมูยอ สารพัยโรลัยเซต พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารจำพวกปิ้ง ย่าง และสารพีเอเอช หรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน เป็นสารเริ่มต้นของสารกลายพันธุ์และสารเริ่มต้นของสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับควันไฟไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ สำหรับอาหารหมักดอง สำรวจตามท้องตลาดพบสารซัคคาริน หรือ ขัณฑสกร ในปริมาณมากเกินกว่าที่กำหนดโดยสารซัคคารินเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 300-400 เท่า หากบริโภคสารนี้จะก่อให้เกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ ในหน่อไม้ปิ๊บ หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง พบสารกันเชื้อราหรือสารกันบูด หากบริโภคในปริมาณมากจะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ บางรายเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หรืออาจเป็นผื่นตามผิวหนังลำตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้ได้ สำหรับสตรีหากรับประทานของหมักดองมากอาจปวดท้องน้อยในช่วงใกล้มีประจำเดือน อาจมีตกข่าวมากกว่าปกติ มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ คันจุดซ่อนเร้น จึงต้องเลี่ยงสารอันตรายต่อร่างกายเหล่านี้


Subjectอาหารปิ้งย่าง -- แง่อนามัย. อาหารหมักดอง -- แง่อนามัย.