English Title : Electrospinning of food grade nanofibers from cellulose acetate-egg albumen blend for bioactive compound delivery
Author : จักรกฤษณ์ เคร่งวิทยา
Source : วิทยานิพนธ์. (2008) 50 หน้า
Abstract : Due to the reported potential of nanofibers for frug delivery, egg albumen (EA)-cellulose acetate (CA) blend nanofibers for delivery of gastrointestinal (GI) tract treatment drug were successfully fabricated in previous work (Patapeejumruswong, 2007). EA is considered as a gook pH-controlled release natural biopolymer whilst CA provides a good gastric protection property. In this study, the release chracteristics of CA-EA blend electrospun film carrying vitamin B2 (Vit. B2), a water soluble bioactive compound, were investigated. The film was electrospun from a blend solution of CA in 85% acetic acid (20% w/w) and EA in neat formic acid (12% w/w) A non-inonic sufactant, namely, Tween 40 was added to promote fiber formation. The solid blending ratio of CA:EA:Tween:vit. B2 was 91:5:3:1. A study of the release property of CA-EA electrospun fibrous film was performed in buffer solutions of pH 1.2 and pH 7.4 at 37±0.5 °C for 9 h. Mass release was measured by periodically sampling the release medium to measure its optical density by spectrophotometry. The mechanism and constant rate of rrate of release were obtained by fitting the cumulative mass release to a simple power law model. Overall, the results showed that the release rates in acidic and alkaline buffers were not significantly different. The release was driven by diffusion through the swollen matrix and the release rate depended on the solubility of the encapsulated compound and of the release medium. This study showed a potential in using the CA-EA blend fibrous film for delivery of bioactive compound in GI tract. The release rate could be regulated by altering either the swelling property of the blend polymer or the solubility of the encapsulated compound in the target GI tract solution.
จากการที่มีการรายงานถึงศักยภาพการนำส่งยาของเส้นใยนาโน ทางกลุ่มวิจัยจึงได้ผลิตเส้นใยนาโนผสมระหว่างไข่ขาว (EA) และเซลลูโลสอะซิเตส (CA) เพื่อใช้ในการนำส่งยาในระบบทางเดินอาหาร (GI) (มนัสชื่น, 2550) โดย EA เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีสมบัติที่ดีในการควบคุมการปลดปล่อยสารด้วยการควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ในขณะที่ CA มีสมบัติที่ดีในการทนต่อสภาวะในกระเพาะอาหารงานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติการปลดปล่อยสารของแผ่นใยนาโนผลมระหว่าง CA กับ EA ที่บรรจุวิตามินบี 2 (Vit. B2) ซึ่งเป็นสารประกอบชีวภาพที่ละลายน้ำได้โดยเตรียมแผ่นใยนาโนด้วยการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิต สารผสมของสารละลาย CA ในกรดอะซิติกเข้มข้นร้อยละ 85 (ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก) และสารละลาย EA ในกรดฟร์มิกเข้มข้น (ร้อยละ 12 โดยน้ำหนัก) นอกจากนี้ยังเติมสารลดแรงตึงผิวแบบไม่มีประจุ (Tween 40 ) ลงไปในสารละลายเพื่อช่วยการขึ้นรูปเส้นใย โดยมีสัดส่วนผสมของของแข็งของ CA:EA:Tween:vit. B2 เป็น 91:5:3:1 สำหรับการศึกษาสมบัติการปลดปล่อยของฟิล์มใยผสมกระทำในสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 1.2 และ 7.4 ที่อุณหภูมิ 37±0.5 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 9 ชั่วโมง ทำการตรวจวัดการปลดปล่อยมวลสารโดยการนำสารละลายตัวกลางของระบบการปลดปล่อยในแต่ละช่วงเวลามาตรวจวัดค่าความเข้มแสงด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตเมทรี สำหรับกลไกและอัตราค่าคงที่ของการปลดปล่อยนั้นพิจารราโดยการเทียบเคีงมวลสะสมของสารที่ปลดปล่อยกับสมการรูปแบบยกกำลัง โดยสรุปแล้วพบว่า อัตราการปลดปล่อยออกจากโครงสร้างของฟิล์ม ประกอบด้วยการแพร่ผ่านแมทริกซ์ที่บวมพองและอัตราการปลดปล่อยขึ้นกับความสามารถในการละลายของสารที่ถูกห่อหุ้มและสารตัวกลางของระบบการปลดปล่อย งานวิจัยนั้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของฟิล์มใยในการเป็นตัวพาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในระบบทางเดินอาหารโดยอัตราการการปลดปล่อยสารสามารควบคุมได้จากทั้งการเลือกสมบัติการพองบวมของพอลิเมอร์ผสมและความสามารถในการละลายของสารประกอบที่ถูกห่อหุ้มภายใต้สารละลายในทางเดินอาหาร
Subject : Nanofibers. Cellulose acetate. Eggs. เส้นใยนาโน. เซลลูโลสแอซีเทต. ไข่.