Author : วีรยุทธ สุทธิรักษ์, เกรียงไกร สุภโตษะ และทรรศน์สรัล รัตนทัศนีย์.
Source : กสิกร 91, 4 (พ.ค.-มิ.ย. 2561) 81-86
Abstract : ทุเรียน เป็นผลไม้ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านการส่งออก ซึ่งการส่งออกผลทุเรียนสดของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนและเขตบริเวณพิเศษฮ่องกง ผู้ส่งออกมักนำสารเร่งสุกมาใช้กับผลทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อกระตุ้นการสุกของผลทุเรียนในระหว่างการขนส่ง ทำให้มีการตรวจพบสารเร่งสุกตกค้างในผลทุเรียนสูงกว่าข้อกำหนด ส่งผลกระทบต่อการส่งออก อีทีฟอนเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการสุกของผลไม้ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี ค.ศ.1973 โดย US Environmental Protection Agency อีทีฟอนมีความเป็นพิษแบบเฉียบพลันเนื่องจากทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและดวงตา มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของ cholinesterase enzyme ทำให้เกิดการสะสมของ acytylcholine ในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการผิดปกติของระบบประสาทกล้ามเนื้อและสมอง ปริมาณการตกค้างสูงสุดของอีทีฟอนในผลทุเรียนสดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9002-2559 ของประเทศไทยกำหนดค่าเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณประชาชนจีน กำหนดค่าเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสหภาพยุโรป กำหนดเท่ากับ 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม.


Subject : Ethephon. ทุเรียน -- การส่งออก. สารกระตุ้นการเจริญเติบโต. อีทีฟอน. สารเคมีทางการเกษตร.