- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2827
Author : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย.
Source : กสิกร 93, 6 (ส.ค.-ก.ย. 2563) 80-83
Abstract : จาโบติกาบ้า ( jaboticaba) หรือ องุ่นต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ Myrciaria cauliflora มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศบราซิล มีการปลูกจาโบติกาบ้าในเชิงเศรษฐกิจในประเทศบราซิล ปัจจุบันจาโบติกาบ้าให้ผลผลิตเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ. ศ. 2563 ที่ผ่านมา แต่ส่วนมากได้แปรรูปเป็นน้ำผลไม้ไว้บริโภค และแบ่งทำเป็นไวน์ สำหรับคนไทยยังมีผู้รู้จักองุ่นต้นน้อยมาก คุณสมบัติทางโภชนาการของผลสดจาโบติกาบ้า พบว่าเป็นแหล่งวิตามินซี วิตามินอี ไทอามีน (Thiamin) ไนอาซิน (Niacin) ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) แคลเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส เหล็ก กรดอะมิโน กรดไขมัน สารฟลาโวนอยด์ โพลีฟีนอล และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นประโยชน์ในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดอาการอักเสบ ใช้บรรเทาอาการข้ออักเสบและอาการอักเสบบริเวณต่างๆ ในร่างกาย ในอดีตจาโบติกาบ้าเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่แนะนำให้สตรีมีครรภ์รับประทานเนื่องจากมีธาตุเหล็ก และมีกรดโฟลิก (Folic acid) ที่มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์.
Subject : องุ่น. องุ่น -- แง่โภชนาการ. ผลไม้. ผลิตผลเกษตร.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2219
Author : นาราญ์ โชติอิ่มอุดม.
Source : กสิกร 93, 6 (ส.ค.-ก.ย. 2563) 84-85
Abstract : ชามัทฉะ (Matcha) มีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะแตกต่างจากชาวโดยทั่วไป คือ เป็นผงละเอียดสีเขียวมีกลิ่นคล้ายสาหร่าย ผงชาสามารถผสมน้ำร้อนหรือน้ำเย็นแล้วดื่มได้ทันที การดื่มชามัทฉะจึงเป็นการรับประทานใบชาทั้งใบ ต่างจากการดื่มชาแบบอื่นที่จะใช้ใบชาชงกับน้ำร้อนแล้วดื่มเฉพาะน้ำชา ชามัทฉะเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากมีการนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารหลากหลายชนิด จึงได้ศึกษาการแปรรูปชามัทฉะจากยอดชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) เบอร์ 12 ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย นำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เนื่องจากมีการปลูกมากในเขตภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ผงชามัทฉะที่ได้เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกนำไปบริโภคและประกอบอาหารได้ตามความเหมาะสมขนาดผงชาที่ละเอียดมากเหมาะสำหรับเครื่องดื่มขนาดที่ใหญ่กว่าสามารถนำไปประกอบอาหาร เช่น เบเกอรี่ ไอศกรีม ขนมหวานต่างๆ ซึ่งจากการทดลองแปรรูปชาชนิดนี้พบว่าฤดูการผลิต การพรางแสง การนึ่งไอน้ำ การอบแห้ง การบด มีผลต่อคุณภาพของชาที่ได้.
Subject : ชา. ชาเขียว. ชาเขียว – การแปรรูป.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2021
Author : กองบรรณาธิการกสิกร
Source : กสิกร 93, 6 (ส.ค.-ก.ย. 2563) 48-53
Abstract : เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง (Passion fruit) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าเ Passiflora edulis เป็นผลไม้ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ เมื่อผลสุกจะมีหลายสีตามสายพันธุ์ สีม่วง สีเหลือง สีส้ม รสชาติเปรี้ยวจัด จึงทำให้เสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินซี นิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เสาวรสเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี6 วิตามินบี 9 เบต้าแคโรทีน ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และธาตุโซเดียม จึงมีสรรพคุณมากมาย เช่น บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ป้องกันหวัด.
Subject : เสาวรส. กะทกรกฝรั่ง. เสาวรส -- สรรพคุณทางยา. ผลิตผลเกษตร. อาหาร.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2203
Author : นรินทร์ เจริญพันธ์.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28, 9 (ก.ย. 2563) 1595-1607
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแป้งจากปลายข้าวต่างชนิดกันต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมผิง การทดลองใช้แป้งจากปลายข้าวที่แตกต่างกันในการศึกษา 10 สูตร ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ พบว่า สูตรแป้งปลายข้าวเหนียวมีค่าการสูญเสียน้ำหนักต่ำและมีค่าความแข็งสูงกว่าสูตรแป้งจากปลายข้าวเจ้า สูตรที่เหมาะสมในการผลิตขนมผิง คือ สูตรที่ใช้แป้งจากปลายข้าวหอมมะลิ มีคะแนนเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ 7.66±0.62 คะแนน กลิ่น 7.93±1.10 คะแนน รสชาติ 7.60±0.91 คะแนน เนื้อสัมผัส 7.60±0.83 คะแนน และความชอบรวม 7.67±0.98 คะแนน สูงที่สุด (ระดับชอบปานกลาง) การทดลองเสริมสมุนไพร 7 ชนิดในผลิตภัณฑ์ขนมผิง ประกอบด้วย หน่อกะลา ต้นหอม ตะไคร้ ใบมะกรูด ขิง ผักชี ใบชะพลู และสมุนไพรทั้ง 7 ชนิดรวมกัน พบว่าขนมผิงสูตรต้นหอมมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมสูงที่สุด (7.80±0.86) และสูตรสมุนไพรรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมต่ำที่สุด (6.93±1.10) การใช้ประโยชน์จากปลายข้าวและพืชสมุนไพรในการผลิตขนมผิงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ขนมผิงซึ่งเป็นขนมไทยโบราณให้คงอยู่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบในท้องถิ่น.
Subject : มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว คณะเทคโนโลยีการเกษตร -- วิจัย. ขนม. ข้าว -- การแปรรูป. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร. สมุนไพร – การใช้ปรุงอาหาร.