SourceEXCISE NEWSLETTER 24, 8 (ก.ย. 2560) 10-12
Abstract : ร่างกายมนุษย์มีน้ำอยู่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นน้ำที่อยู่นอกเซลล์ ได้แก่ น้ำเลือด (Plasma) น้ำเหลือง (Lymph) และน้ำที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ทุกระบบในร่างกายต้องอาศัยน้ำ ร่างกายจะได้รับน้ำจากการดื่มโดยตรงหรือในรูปเครื่องดื่มประเภทต่างๆ และจากอาหาร เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ไขมัน ผัก และผลไม้ ในการทำงานร่างกายต้องสูญเสียน้ำออกไปตลอดเวลาในรูปของไอน้ำในลมหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ (dehydration) เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายและถ้าแก้ไขไม่ทันก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ระบบควบคุมในสมองเมื่อร่างกายขาดน้ำ (น้ำในเลือดต่ำ) Hypothalamus จะกระตุ้นให้เกิดอาการกระหายน้ำเมื่อดื่มน้ำเข้าไปจะทำให้น้ำที่อยู่ในเซลล์และนอกเซลล์เพิ่มขึ้นจะไม่กระหาย ผู้ชายต้องการน้ำเฉลี่ย 3.35 ลิตรต่อวัน ผู้หญิงต้องการน้ำเฉลี่ย 2.5-3 ลิตรต่อวัน และเด็กต้องการน้ำเฉลี่ย 2-2.5 ลิตรต่อวัน ภาวะขาดน้ำส่งผลให้ระดับของโพแทสเซียม โซเดียมและคลอไรด์ในร่างกายไม่สมดุลเกิดขึ้น เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว จากอาการไข้ ท้องร่วงและอาเจียน การดื่มน้ำเพื่อบำบัดโรค หลังตื่นนอนตอนเช้าให้ดื่มน้ำเปล่าทันที 1.26 ลิตร (6 แก้ว) หลัง 1 ชั่วโมง สามารถดื่มกินได้ตามปกติ ก่อนนอนไม่ควรกินอาหารและของว่างทุกอย่าง.

Subjectน้ำ--การดื่ม. น้ำ--การดื่ม--แง่อนามัย.

SourceEXCISE NEWSLETTER 24, 9 (ก.ย. 2556) 8-12
Abstract : ภูมิปัญญาด้านการทำอาหารประจำชาติของ 10 ประเทศอาเซียน ไม่แพ้ภูมิภาคใดในโลก บรูไน ดารุสซาลาม มีอัมบูยัต คล้ายข้าวต้ม มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก โดยจะมีอาหารจานหลักและเตรื่องเคียง 3 อย่างวางโดยรอบ กัมพูชามีอาม็อก ซึ่งคล้ายห่อหมกไทยทำจากปลา น้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ อินโดนีเซีย มี กาโด ซึ่งคล้ายสลัดแขก ประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่ว ลาวมีซุปไก่ มีส่วนประกอบคือตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง มาเลเซียมีนาซิ เลอมัก เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ เวียดนามมีเปาะเปี๊ยะเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปรี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักหลากชนิด ฟิลิปปินส์ มี อโดโบ้ ทำจากหมูหรือไก่หมักซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ ทำให้สุกในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว สิงคโปร์ มีลักสา เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใสกะทิ) คล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวคล้ายสปาเกตตีของอิตาลี ไทย มีต้มยำกุ้ง เน้นเปรี้ยวและเผ็ดนำ เค็มและหวานเล็กน้อย ใส่เครื่องเทศคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ผักที่ใส่คือ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี เครื่องปรุงคือมะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา และประเทศพม่า มีหล่าเผ็ดเป็นอาหารประจำชาติ ลักษณะคล้ายยำเมี่ยงของไทย รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ใบชาหมัก กระเทียมเจียว งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น.

Subjectประชาคมอาเซียน--อาหารประจำชาติ. อาหารพื้นบ้าน--อาเซียน.

Author : อลงกรณ์ รัตตะเวทิน
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 29, 655 (ก.ย. 2560) 101-102
Abstractข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณสมบัติโดดเด่นทางโภชนาการ เป็นธัญพืชเพื่อสุขภาพ มีสีและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินอี แกมมาโอไรซานอล สังกะสี และโฟเลต ช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสร้างคอลลาเจน ลดการอักเสบของผิวหนัง ชะลอความแก่ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคสมองเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลมีผลดีต่อระบบขับถ่าย ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่จะนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตน้ำสลัดจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทำได้โดยการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่ล้างน้ำให้สะอาด และตากพักข้าวไว้ ต้มน้ำให้เดือดและใส่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ในอัตราส่วน 150 กรัม ต่อน้ำ 300 มิลลิลิตร ต้มนานประมาณ 30 นาที ยกลงจากเตาพักไว้ให้เย็นประมาณ 5 นาที แล้วนำข้าวที่ผ่านการต้มใส่เครื่องปั่น พร้อมด้วยน้ำสะอาด 30 มิลลิลิตร ด้วยความเร็วสูงสุด 2 นาที และความเร็วต่ำ 1 นาที แล้วจึงเทผลิตภัณฑ์ที่ได้ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ในบทความยังกล่าวถึงขั้นตอนการทำน้ำสลัดเสริมน้ำข้าวไรซ์เบอร์รี่ จากการนำน้ำสลัดที่ไม่ได้เสริมน้ำข้าวไรซ์เบอร์รี่ และน้ำสลัดเสริมน้ำข้าวไรซ์เบอร์รี่ร้อยละ 20 นำมาเปรียบเทียบกันพบว่าน้ำสลัดเสริมข้าวไรซ์เบอร์รี่ร้อยละ 20 มีค่าปริมาณ เถ้า ความชื้น โปรตีน เส้นใย และคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของน้ำข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่เพิ่มขึ้น 

Subjectน้ำสลัด--ข้าวไรซ์เบอรี่. น้ำสลัด--ข้าวไรซ์เบอรี่--การทำ.

Author : พารนี, นามแฝง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 420 (ก.ย. 2560) 68-70
Abstract : กล้วยทอดจิ้มนมข้นหวาน เป็นอาหารว่างของคนท้องถิ่นแถบหัวหินจนถึงปากน้ำปราณ ได้มีการปรับปรุงสูตรโดยเพิ่มส่วนผสมพวกถั่ว งา ลงไปในแป้งใช้ชื่อว่า “กล้วยทอดกระทงทองจิ้มนม” กล้วยที่ใช้ต้องเป็นกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองที่แก่จัดและสุกเองตามธรรมชาติ เพราะหากเป็นกล้วยไส้ขาวหรือกล้วยบ่มแก๊ส เมื่อทอดแล้วกล้วยจะฝาดปาก ไม่หวานอร่อย การใช้ไฟต้องไม่แรงหรืออ่อนเกินไป เวลาตักกล้วยจากกระทะต้องใช้กระชอนตัก และกระจายชิ้นกล้วยเพื่อไม่ให้อมน้ำมัน ต้องรอให้เย็นลงเล็กน้อยก่อนหยิบใส่ถุง กล้วยทอดกระทะทองจิ้มนม เป็นที่นิยมของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ปัจจุบันมี 3 สาขา สาขาแรกอยู่ที่ปากน้ำปราณ สาขาสองที่หัวหิน ซอย 51 และ สาขาสามอยู่ที่เขาเต่าบ้านเอื้ออาทร

Subjectกล้วยทอด. กล้วยทอด--แง่โภชนาการ.