Author : พารนี, นามแฝง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 420 (ก.ย. 2560) 14-16,18
Abstract : ลูกชิ้นหมูปิ้ง “ลูกชิ้นทิพย์” เริ่มต้นจากธุรกิจแบบรับซื้อลูกชิ้นจากโรงงานผลิตแล้วนำมาตั้งเตาปิ้งเอง ต่อมาจึงคิดสูตรและผลิตลูกชิ้นเอง โดยลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 2 ปี หลังจากนั้น ได้ตั้งโรงงานผลิตลูกชิ้นมีคนงานเริ่มต้นประมาณ 10 คน ต่อมาจึงขยายโรงงานผลิตเพราะต้องผลิตส่งร้านตนเอง และขายส่งให้กับคู่ค้าอีกหลายราย รวมทั้งได้พื้นที่ขายในห้างสรรพสินค้าเพิ่มขึ้น โดยก่อสร้างโรงงานให้ได้มาตรฐานในทุกระบบ ใช้เครื่องจักรทันสมัย เพื่อรองรับการขยายตัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ปัจจุบันขายปลีกไม้ละ 5-10 บาทมีหน้าร้านกระจายอยู่ตามห้างสรรพสินค้าและปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ ส่วนลูกค้าที่ต้องการซื้อจำนวนมาก มีรูปแบบให้เลือกทั้งขายส่งและลงทุนแบบแฟรนไชส์ ที่เลือกระดับการลงทุนได้ระหว่าง 6,900 – 29,900 บาท

Subjectลูกชิ้น--แง่โภชนาการ. ลูกชิ้น--การผลิต.

Author : พัฒนา นรมาศ
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 656 (ต.ค. 2560) 106-107
Abstract : ปลาร้าทำได้จากปลาหลายชนิด ถ้าทำด้วยปลาใหญ่ให้เอาไส้หรือเครื่องในออกก่อน ถ้าทำด้วยปลากระดี่ จะเป็นที่นิยม เพราะเนื้อไม่เละมีกลิ่นหอม วิธีทำปลาร้าใช้ปลา 5 – 6 ถ้วย ผึ่งลม 4 – 5 ชั่วโมงนำปลามาใส่ในไห แล้วนำเกลือ 1 – 2 ถ้วย ใส่ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาหมักไว้ข้ามคืน รุ่งเช้าเปิดฝาออกแล้วนำข้าวคั่วใหม่ 1 – 2 ถ้วย ใส่ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาหมักไว้ 4-8 สัปดาห์ ควรวางไหที่หมักในที่ที่มีแดดส่องถึงบ้าง และเมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดฝาไหออกก็จะได้กลิ่นหอมของปลาร้า ปลาร้าที่ได้จากการหมักแล้ว นำมาปรุงรสอาหารได้หลายชนิด เช่น นำปลาร้ามาปรุงรสในส้มตำ ทำเป็นน้ำพริกบอง แบบชาวอีสาน ทำปลาร้าทรงเครื่อง หลนปลาร้าหรือทำเป็นปลาร้าสับ วิธีปรุงรสปลาร้าสับผัดสุกรสแซ่บ ให้นำส่วนผสมทั้ง 6 อย่าง (ปลาร้า 1 กิโลกรัม กระชาย 3 ขีด ตะไคร้ซอย 3 ขีด หอมแดงซอย 3 ขีด พริกขี้หนู 3 ขีด มะขามเปียก โหระพา มะพร้าวคั่ว น้ำปลาและน้ำตาลตามควร) ใส่ในเครื่องปั่น ปั่นให้ละเอียด คั่วปลาร้าสับในกระทะที่ใช้ไฟอ่อน จนสุก ตักใส่ภาชนะ ปิดฝาจัดเก็บไว้ในตู้เย็นช่วยยืดอายุได้นาน ต้องการรับประทานก็แบ่งมาปรุงรสด้วยมะนาวหรือน้ำเปล่า แล้วโรยด้วยหอมแดงซอยและใบมะกรูดซอย พร้อมจัดผักเครื่องเคียง เช่น ขมิ้นขาว พริกขี้หนู มะเขือเปราะ หรือแตงกวา ก็จะได้ปลาร้าสับสุกรสแซ่บ เป็นวิถีทางเลือกการยังชีพแบบพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ

Subjectปลาร้า. ปลาร้า--การทำ. ปลาร้า--แง่โภชนาการ.

Author : ฤทธิ์ชัย อัศวราชันย์
SourceFOOD FOCUS THAILAND 12, 134 (May 2017) 52-53
Abstract : การอบแห้งเป็นกระบวนการแปรรูปที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน โดยลดปริมาณความชื้นหรือน้ำอิสระ (Water activity) ให้ต่ำในระดับที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และการทำงานของเอนไซม์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในอาหาร ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งในรูปแบบของการผสมผสาน (Hybrid drying) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การผสมผสานลักษณะการถ่ายเทความร้อนจากแหล่งพลังงานตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (Combined modes of heat transfer) การทำแห้งแบบหลายขั้นตอน (Multistage Dryers) และการทำแห้งแบบ Multiprocessing Dryer ถูกนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพสินค้าทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์อาหารอบแห้ง โดยเฉพาะการนำมาใช้อบแห้งพืชสมุนไพร เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น การอบแห้งขมิ้นชัน และเห็ดหลินจือ เพื่อช่วยลดอัตราการเสื่อมสลายของสารต้านอนุมูลอิสระ การอบแห้งพริกแดงเพื่อช่วยรักษาสีแดงและสารให้ความเผ็ด

Subjectอาหารแห้ง. อาหาร--การแปรรูป.

Author : คุณตุ๊ก, นามแฝง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 420 (ก.ย. 2560) 54-55
Abstract : กระท้อนลอยแก้ว มีส่วนผสมประกอบด้วย กระท้อน มะนาว เกลือ น้ำตาลทราย น้ำ ใบเตย ขั้นตอนการทำเริ่มจากปอกเปลือกแช่น้ำมะนาว แล้วมาฝาน หั่นเป็นชิ้นๆ แช่น้ำเกลือ บีบเบาๆ เอาน้ำเกลือออก 3 – 4 ครั้ง จากนั้น เคี่ยวน้ำเชื่อมใส่ใบเตย เอากระท้อนแช่ไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นนำเฉพาะน้ำเชื่อมมาเคี่ยวอีกครั้ง เติมน้ำตาลทรายเพิ่มอีก 1 ทัพพี ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำเนื้อกระท้อนมาแช่ในน้ำเชื่อม นำเข้าตู้เย็นไว้ 1 คืน จะได้กระท้อนลอยแก้วเนื้อเงามัน หวานเข้าเนื้อและไม่ฝาด รับประทานกับน้ำแข็ง

Subjectกระท้อนลอยแก้ว. กระท้อนลอยแก้ว--สูตร.