Sourceหมอชาวบ้าน 39, 460 (ส.ค. 2560) 60-61
Abstract : แกงเลียง เป็นแกงที่มีรสเผ็ดน้อย รสร้อนมาก เครื่องเทศพริกไทยเป็นหลัก พริกไทยช่วยการปรับสมดุลลมให้เป็นปกติ มีคุณสมบัติช่วยขับน้ำนม ขับลม และขับเหงื่อ ช่วยระบายความร้อน ช่วยย่อย ช่วยป้องกันความเสื่อมและแก้อักเสบ ผักหลายชนิดที่ใส่ในแกงเลียงอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ช่วยเก็บกวาดสารพิษในลำไส้ ในบทความ ยังกล่าวถึงส่วนประกอบเครื่องแกง ส่วนประกอบผักหลายชนิด วิธีทำ และสรรพคุณผัก เช่น พริกไทย ขับลมในกระเพาะและช่วยให้น้ำย่อยหลั่งมากขึ้น หอมแดง ขับลมในลำไส้และขับเสมหะ บวบ มีแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และเส้นใยอาหารมาก ตำลึง มีบีตาแคโรทีนสูง แมงลัก เพิ่มการสร้างน้ำนมแม่ มีวิตามินเอ ธาตุเหล็ก และแคลเซียม และฟักทอง มีวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร

Subjectแกงเลียง--วิธีทำ. แกงเลียง--แง่โภชนาการ.

Sourceฉลาดซื้อ 23, 194 (เม.ย. 2560) 32-36
Abstract : ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สุ่มทดสอบสารกันบูด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในตัวอย่างไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำไส้ขนมหลายชนิด เช่น ขนมโมจิ ซาลาเปา ขนมเทียน ขนมถั่วกวน ขนมลูกชุป ขนมเม็ดขนุน จำนวน 6 ตัวอย่าง พบว่ามี 3 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก และตัวอย่างอีก 3 ยี่ห้อที่พบการปนเปื้อนของ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ประกอบด้วย ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ร้านเกียรติสินสะพานควาย พบ กรดเบนโซอิก 304.82 มก./กก. ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ร้านเกียรติรุ่งโรจน์ ซ.งามวงศ์วาน 25 พบกรดเบนโซอิก 316.63 มก./กก. และ ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ร้านครบครัน คลองตัน พบกรดเบนโซอิก 340.68 มก./กก. และในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปพบสารกันบูดเฉลี่ยอยู่ 320.71 มก./กก. มากกว่าที่พบในขนมเปี๊ยะที่พบค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มก./กก. หรือประมาณ 15 เท่า

Subjectวัตถุกันเสีย.

Author : ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 419 (ส.ค. 2560) 70-71
Abstract : กุ้งจ่อม และปลาจ่อมเป็นอาหารพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ใช้ภูมิปัญญาในการถนอมอาหาร อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งผลิตปลาจ่อมและกุ้งจ่อมเก่าแก่แห่งหนึ่ง และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกุ้งจ่อมกระยาสารทประโคนชัย ที่ผลิตกุ้งจ่อมมานานกว่า 20 ปี โดยใช้ความรู้ ทักษะ ความชำนาญที่สืบทอดรุ่นต่อรุ่น และพัฒนาวิธีการผลิตที่ทันสมัย ปลอดภัย รวดเร็ว แต่ยังคงรสชาติและความอร่อยเช่นเดิม การผลิตกุ้งจ่อม จะใช้กุ้งฝอยเป็นวัตถุดิบหลัก โดยต้องล้างทำความสะอาด และปล่อยให้แห้ง จากนั้นนำไปใส่ในภาชนะและใส่น้ำปลายี่ห้อทิพย์รส ในอัตรา กุ้งฝอย 10 กิโลกรัมต่อน้ำปลา 8 ขวด หมักทิ้งไว้ 2 คืน แล้วใส่ข้าวคั่วประมาณ 2 กิโลกรัม หมักอีก 2 คืน จึงสามารถนำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้ กุ้งจ่อมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน 2 เดือน โดยแช่ตู้เย็น ผู้บริโภคสามารถนำกุ้งจ่อมไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น รับประทานสดโดยใส่หอม ตะไคร้ ผสมกับไข่เจียว หรือนำไปผัด ยำ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกุ้งจ่อมกระยาสารท ประโคนชัย ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย.ด้วย

Subjectกุ้งจ่อม. กุ้งจ่อม--แง่โภชนาการ.

Author : เพ็ญศิริ คงสิทธิ์
Sourceวารสารเกษตร 33, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 153-161
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตน้ำสลัดชนิดข้นผสมฟักข้าว โดยคัดเลือกสูตรพื้นฐานของน้ำสลัดชนิดข้นจากการยอมรับของผู้บริโภค โดยพบว่าสูตรที่เหมาะสมประกอบไปด้วย พริกไทยป่น เกลือ มัสตาร์ด ไข่แดง น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย และน้ำมันพืชในสัดส่วน 0.12, 0.28, 0.82, 10.91, 14.89, 21.17 และ 51.81% ตามลำดับ และปริมาณฟักข้าวที่เหมาะสมในการทำน้ำสลัดชนิดข้นผสมฟักข้าว คือ ร้อยละ 3 ซึ่งให้ลักษณะใกล้เคียงน้ำสลัดสูตรควบคุมที่ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด โดยมีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมดเท่ากับ 61.52 องศาบริกซ์ ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 3.27 กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 0.80 กรัมต่อมิลลิลิตร ค่าความหนืดเท่ากับ 85.47 เซนติพอยส์ ค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*)และค่าสีเหลือง (b*) เท่ากับ 70.43, 22.71 และ 41.12 ตามลำดับ และศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพของน้ำสลัดชนิดข้นผสมฟักข้าว โดยการเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็น (4 ± 2 °C) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความหืน ความหนืด และค่าสีเหลืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ ค่าความสว่าง และค่าสีแดง มีแนวโน้มลดลง โดยพบปริมาณจุลินทรีย์ไม่เกินที่มาตราฐานกำหนด

Subjectฟักข้าว. ฟักข้าว--วิจัย. ฟักข้าว--แง่โภชนาการ.