- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2111
Author : แก้ว กังสดาลอำไพ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 227 (ม.ค. 2563) 64-66
Abstract : น้ำนมดิบที่ไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อก่อโรคด้วยความร้อนในระดับที่เรียกว่า “พาสเจอไรซ์” เสี่ยงได้รับเชื้อโรคอันตรายซึ่งอาจปนเปื้อนในนมหลายชนิด เช่น บรูเซลล่า (Brucella) แคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter), คริปโตสปอริเดียม (Cryptosporidium), อีโคไล (E. coli ), ลิสทีเรีย (Listeria) และซาลโมเนลล่า (Salmonella) ในหลายประเทศมีกฎหมายห้ามการจำหน่ายน้ำนมดิบ ประเทศที่มีการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตสำหรับผู้ที่สามารถทำตามข้อกำหนดเพื่อขายนมดิบนั้น คือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี การเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารระบาดนั้น ไม่ได้มีนมดิบเป็นปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียว อาจมีปัจจัยอื่น เช่น การสัมผัสเชื้อจากสัตว์ ฯลฯ.
Subject : การปนเปื้อนในน้ำนม. น้ำนม. น้ำนมดิบ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2709
Author : กองบรรณาธิการฉลาดซื้อ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 227 (ม.ค. 2563) 32-39
Abstract : จากการสุ่มเก็บตัวอย่างกุนเชียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กุนเชียงหมู กุนเชียงไก่ และกุนเชียงปลา เพื่อทดสอบหาสารไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารตรึงสี (ช่วยให้มีสีแดงสวยและป้องกันการเน่าเสีย) และวัตถุกันเสีย 2 ชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก พบว่า ทุกตัวอย่างปลอดภัย ไม่มีวัตถุเจือปนอาหารไนเตรท ไนไตรท์ กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิกเกินค่ามาตรฐาน ทั้งนี้ การเลือกซื้อกุนเชียงควรเลือกที่เนื้อแน่น คงรูป ไม่มีโพรงอากาศ เนื้อสัตว์และมันสัตว์ผสมกันอย่างทั่วถึง มีสีตามธรรมชาติ และไม่มีสีผิดปกติ เช่น ซีด เขียวคล้ำ ดำ หรือรอยไหม้ ไม่มีกลิ่นอับหรือหืน ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม ดิน กรวด ภาชนะบรรจุสะอาด ผนึกเรียบร้อย รวมทั้งเลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ
Subject : อาหาร. วัตถุกันเสีย. การปนเปื้อนในอาหาร.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2141
Author : กองบรรณาธิการฉลาดซื้อ
Source : ฉลาดซื้อ 26, 227 (ม.ค. 2563) 25-31
Abstract : จากการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในรูปแบบถ้วย จำนวน 23 ตัวอย่าง เพื่อนำมาสำรวจปริมาณโซเดียม พบว่ามีบางตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมต่อถ้วยเกินกว่าองค์การอนามัยโลกแนะนำคือ ร่างกายไม่ควรรับปริมาณโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หากคำนวณมื้ออาหาร 3 มื้อ ควรได้รับไม่เกินมื้อละ 666 มิลลิกรัม ซึ่งจากตัวอย่างทั้งหมด พบว่าทุกตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมเกิน 666 มิลลิกรัม ดังนั้นการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็งรูปไม่ควรเติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว เพิ่มลงไปอีก หรือหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำซุปหมดถ้วย และไม่ควรบริโภคบ่อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิต โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงกระดูกพรุนได้.
Subject : โซเดียม. โซเดียม. บะหมี่สำเร็จรูป. อาหาร. อาหารกึ่งสำเร็จรูป. บะหมี่สำเร็จรูป. ปริมาณโซเดียม.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2123
Author : บรรลุ ศิริพานิช.
Source : หมอชาวบ้าน 41, 492 ( เม.ย. 2563) 81-83
Abstract : การที่จะมีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรงได้นั้น ร่างกายต้องได้รับอาหารที่มีสัดส่วนครบถ้วน ซึ่งลักษณะการกินอาหารไม่ครบส่วนมีดังนี้ 1.กินอาหารที่มีกากไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการท้องผูก นำไปสู่อาการอึดอัด เบื่ออาหาร จึงควรกินผักใบเขียวและผลไม้ต่างๆ 2.การขาดแคลเซียม ส่งผลทำให้กระดูกเปราะ จึงควรกินอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ เช่น นม กระดูกปลากรอบ 3. การขาดน้ำ ส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดภาวะเป็นกรดในน้ำเลือด จึงควรดื่มน้ำปริมาณที่เพียงพอต่อวัน 4.การขาดธาตุเหล็ก จะทำให้เกิดโรคเลือดจาง จึงควรกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ เมล็ดพืช 5.การขาดวิตามินซี ทำให้เกิดโรคเลือดจางได้เช่นกัน เพราะวิตามินซีจะดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับผลไม้รสเปรี้ยวและผักเป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม.
Subject : อาหาร. ใยอาหาร. สารอาหาร. แร่ธาตุในโภชนาการมนุษย์.
ที่มารูปภาพ : www.pixabay.com