Author : พิชญาดา เจริญจิต.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 715 (15 มี.ค. 2563) 122-123
Abstract : สะเดา เป็นพืชสมุนไพรรสขมที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ในยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงาน 76 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 2.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม แคลเซียม 354 มิลลิกรัม เหล็ก 4.6 มิลลิกรัมและฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม สะเดาไทยมี 2 ชนิด คือ สะเดายอดเขียวและสะเดายอดแดง ซึ่งสะเดายอดเขียวจะมีความขมน้อยกว่า สะเดามีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ดอก แก้พิษโลหิต บรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการคันคอ ผล บำรุงหัวใจ เป็นยาระบาย แก้อาการหัวใจเต้นผิดปกติ รสชาติความขมของสะเดา เกิดจากสารพอลิเซ็กคาไรด์และสารลิโมนอยด์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกหรือเนื้อร้าย ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งด้วย.

Subject : อาหาร. สะเดา. สะเดา -- สรรพคุณทางยา. สะเดา -- แง่โภชนาการ. ผัก.

Author : อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 715 (15 มี.ค. 2563) 26-27
Abstract : กระเทียม มีชื่อสามัญว่า GARLIC ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium satirum Linn อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE วงศ์ย่อย ALLIOIDEAE ในตระกูลเดียวกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง สารสำคัญของกระเทียม คือ สารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน ทำให้กระเทียมมีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ของกระเทียม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับเหงื่อ ขับเสมหะ บำบัดโรคหลอดลมอักเสบ บรรเทาอาการไอ การสูดดมน้ำคั้นกระเทียมรักษาวัณโรคใช้บำบัดโรคความดันโลหิตสูง แก้อาการอักเสบในลำไส้ ป้องกันกรดไหลย้อน บดกระเทียมผสมน้ำส้มสายชูใช้กวาดแก้คออักเสบ แก้ไข้ สารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน เป็นยาปฎิชีวนะฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ ป้องกันโรคหลอดเลือดอุตตันได้ ประโยชน์ทางโภชนาการกระเทียมมีวิตามินเอ บี ซี และสารจำพวกฮอร์โมน กระเทียม 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กากใยอาหาร น้ำตาล ไขมัน กรดแพนโทเทนิก กรดโฟลิก แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินB เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ซีลีเนียม.

Subject : กระเทียม. กระเทียม -- สรรพคุณทางยา. อาหาร. กระเทียม – แง่โภชนาการ.

Author : พิชญาดา เจริญจิต.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 716 (1 เม.ย. 2563) 118-119
Abstract : ข้าวคลุกกะปิ เป็นอาหารจานเดียวของภาคกลาง ที่นำข้าวมาขลุกกับกะปิ นำไปผัดให้หอม แล้วรับประทานกับเครื่องเคียงต่างๆ เช่น หอมแดงซอย กุ้งแห้งทอด กุนเชียงทอด ไข่เจียวหั่นฝอย พริกขี้หนูซอย มะม่วงดิบสับ มะนาว หมูหวาน ซึ่งกะปิคุณภาพดี ต้องทำมาจากเคยที่นำมาหมัก มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูก กะปิมีวิตามินบี12 สูง จะช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และยังมีไขมันโอเมก้า3 ช่วยป้องกันเส้นเลือดอุดตันและโรคหัวใจได้ ในข้าวคลุกกะปิ 1 จาน ให้พลังงานประมาณ 549 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 25 กรัม มีไขมัน ร้อยละ 43 ของปริมาณที่แนะนำให้ปริโภคต่อวัน โดยในบทความมีส่วนประกอบและวิธีการทำข้าวคลุกกะปิอย่างละเอียด.

Subject : กะปิ. ข้าวคลุกกะปิ. ข้าวคลุกกะปิ -- แง่โภชนาการ. อาหาร.

Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 716 (1 เม.ย. 2563) 88
Abstract : อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวน เป็นส่วนประกอบและมีสูตรโครงสร้างคล้ายเอสโตรเจน จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อช่วยลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน และอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน รวมทั้งลดระดับไขมันในเลือดได้ มีข้อมูลงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่รับประทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ตั้งแต่ 35-134 มิลลิกรัมต่อวัน จะมีผลช่วยลดกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน เช่น นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีผลต่อการเรียนรู้และจดจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ปริมาณไอโซฟลาโวนที่แนะนำคือ 50-100 มิลลิกรัมต่อวันหรือเทียบเท่าน้ำถั่วเหลืองประมาณวันละ 2-4 แก้วหรือเต้าหู้ประมาณวันละ 2-4 ก้อน.

Subject : เอสโตรเจน. อาหาร. ถั่วเหลือง. ไอโซฟลาโวน. ถั่วเหลือง -- แง่โภชนา. วัยหมดระดู -- การรักษาด้วยฮอร์โมน. Isoflavones. Estrogen.