- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1827
Author : สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์
Source : หมอชาวบ้าน 40, 476 (ธ.ค. 2561) 10-14
Abstract : อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการสร้างและเสริมกระดูกให้เจริญเติบโตสมวัย ช่วยชะลอภาวะกระดูพรุนและความทุพพลภาพจากโรคกระดูก สารอาหารที่เสริมสร้างกระดูก ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี ซึ่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์นม ถั่ว ผลิตภัณฑ์ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว แมกนีเซียมมีมากในอาหารประเภทถั่ว ข้าวกล้อง อาหารทะเล อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ชา กาแฟ และอาหารที่ทำจากยีสต์ อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา ตับ ไข่แดง และแหล่งให้วิตามินดีที่สำคัญคือ แสงแดด ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน สุรา บุหรี่ ซึ่งมีฤทธิ์สลายแคลเซียมจากกระดูกได้ รวมทั้งไม่ควรรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ น้ำอัดลม ในปริมาณมาก การดื่มนม น้ำเต้าหู้ และออกกำลังกาย จะช่วยให้กระดูกแข็งแรงโดยไม่ต้องใช้ยาหรืออาหารเสริมใดๆ
Subject : แคลเซียม. กระดูก. แมกนีเซียม. อาหาร.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1919
Author : วินดี้, นามแฝง.
Source : เส้นทางเศรษฐี 24, 434 (พ.ย. 2561) 60
Abstract : บราวนี่เนื้อแป้งมะพร้าวกับอะโวกาโด ใช้แป้งมะพร้าวกลูเต็นฟรี ซึ่งมีไฟเบอร์และโปรตีนสูงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เป็นส่วนผสมรวมกับ ไข่ไก่ อะโวกาโด เมเปิ้ลไซรัป น้ำตาลทรายแดง ผงโกโก้ เกลือ และกลิ่นวนิลา โดยในบทความมีวิธีการทำไว้อย่างละเอียด
Subject : บราวนี่. บราวนี่ -- อโวกาโด.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1861
Author : พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่
Source : หมอชาวบ้าน 40, 476 (ธ.ค. 2561) 47-49
Abstract : ส้มโอ นอกจากกินเป็นผลไม้แล้ว ยังนำมาทำเป็นอาหารได้ ซึ่งในบทความมีรายละเอียดของส่วนผสมและวิธีการทำยำส้มโออย่างละเอียดโดยคุณค่าทางโภชนาการของยำส้มโอ 150 กรัม จะให้พลังงาน 128 กิโลแคลอรี โปรตีน 6 กรัม ไขมัน 4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17 กรัม ใยอาหาร 3 กรัม คิดเป็นร้อยละ 12 มีปริมาณโซเดียมร้อยละ 13 และมีวิตามินซี ร้อยละ 100 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วันโดยปริมาณวิตามินซีส่วนใหญ่มาจากส้มโอ.
Subject : ส้มโอ. ส้มโอ -- ยำ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1738
Source : วารสารกรมประชาสัมพันธ์ 25, 257 (ม.ค.-มี.ค. 2562) 15-18
Abstract : กะเพราพันธุ์พื้นบ้านสามารถแบ่งกลุ่มตามลักษณะภายนอกได้ 3 ชนิด คือ กะเพราขาว กะเพราแดง และกะเพราผสมระหว่างกะเพราขาวและกะเพราแดง ในบางพื้นที่เรียกว่า กะเพราป่า กะเพราทั้งสามสายพันธุ์นี้มีความหอมกว่าพันธุ์กะเพราที่ปลูกเป็นการค้า กะเพรามีสารน้ำมันทำให้มีรสชาติดีและกลิ่นหอม โดยกะเพราป่ามีน้ำมันหอมระเหย 0.18-0.46 เปอร์เซ็นต์ กะเพราแดงและกะเพราขาวมีน้ำมันหอมระเหย 0.18-0.26 และ 0.14-0.31 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยของกะเพรามี eugenol เป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงถูกนำมาใช้เป็นยาอายุรเวชเพื่อปรับสมดุลของความเครียด กะเพรามีสรรพคุณในการรักษาไข้หวัด โรคหอบ หลอดลมอักเสบ โรคเบาหวาน อาหารปวดหู ปวดศรีษะ ตลอดจนช่วยต้านพิษงูและแมงป่องได้ด้วย เมื่อนำใบกะเพรามาประกอบอาหารจะช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารนั้นมีกลิ่นชวนรับประทานยิ่งขึ้น
Subject : ข้าวผัดกะเพรา. กะเพรา. อาหาร -- ไทย.