English Title : Choice of the packaging for baked goods
Author : พนิดา รัตนปิติกรณ์
Sourceวารสารการบรรจุภัณฑ์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 (เมษายน – มิถุนายน 2555) หน้า 6-13
Abstract : ผลิตภัณฑ์ขนมอบที่อบเสร็จใหม่ เช่น ขนมปังสดหรือเค้กเนยสดจะมีอายุการเก็บสั้นในสภาวะปกติหรือที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากมีไขมัน น้ำมันและความชื้นเป็นส่วนประกอบ และไม่ใช้วัตถุกันเสีย โดยทั่วไปขนมปังสดจะมีอายุการเก็บเพียง 1-2 วัน ส่วนเค้กเก็บได้ 3-4 วัน ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมในการเก็บ ผลิตภัณฑ์จะเกิดการเสื่อมคุณภาพโดยเกิดลักษณะเนื้อแห้งและแข็งกระด้างหรือเรียกว่า สเตลลิ่ง เกิดจากสตาร์ซที่อุ้มน้ำซึ่งเป็นโครงสร้างของขนมอบเกิดการเปลี่ยนรูปเป็นผลึก ทำให้เกิดการเสียน้ำและเสียรูปที่อ่อนตัว นอกจากนี้การเสื่อมคุณภาพยังอาจเกิดจากการเจริญของจุลินทรีย์หรือการเกิดกลิ่นหืนเนื่องจากออกซิเจน การเลือกใช้วัสดุภัณฑ์และรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์จึงมีความจำเป็นและจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เนื่องจากสาเหตุทางจุลินทรีย์ เคมี และกายภาพได้ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ขนมอบแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับรูปแบบ ลักษณะหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆว่าเหมาะกับผลิตภัณฑ์ขนมอบแต่ละชนิดหรือไม่และยังต้องคำนึงถึงความสะดวก รูปแบบในการบริโภคของผู้บริโภคด้วย ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงราคาต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เมื่อเทียบกับราคาจำหน่าย การตลาด การขนส่งและการกระจายสินค้า และสภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาตลอดช่วงอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ เช่น ขนมปังสด แซนวิช วัสดุบรรจุภัณฑ์ควรเป็นกระดาษที่เคลือบด้วยแวกซ์ เซลโลเฟนที่เคลือบด้วยไนโตรเซลลูโลส ฯลฯ เค้ก บิสกิต ขนมขบเคี้ยวที่มีลักษณะกรอบ วัสดุบรรจุภัณฑ์ควรเป็นอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบกระดาษ พอลิโพรพิลีนเคลือบด้วยพอลิไวนิลดีนคลอไรด์ประกบกันสองชั้น หรืออาหารพวกธัญชาติ วัสดุบรรจุภัณฑ์ควรเป็นกระดาษประกบพอลิเอทิลีน เป็นต้น

Subjectบรรจุภัณฑ์--เบเกอรี่--การเลือกใช้, ภาชนะบรรจุอาหาร--เบเกอรี่--การเลือกใช้

English Title : Monitoring technology for manufacturing parboiled rice of rice mill
Author : ภิญโญ ชุมมณี
SourceMechanical Technology Magazine ปีที่ 10 ฉบับที่ 118 (มิถุนายน 2554) หน้า 48-56
Abstractข้าวเปลือกที่โรงสีข้าวนึ่งรับซื้อจากเกษตรกรส่วนใหญ่มักมีสิ่งเจือปนหรือมีความชื้นสูงเกินไป เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสารจะได้รับเนื้อข้าวค่อนข่างน้อย จึงมีการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกโดยตรวจสอบความชื้น สิ่งเจือปนตรวจสอบ ข้าวเปลือกเสื่อมคุณภาพ ข้าวเปลือกเป็นโรค อัตราการกะเทาะ การแตกร้าวของข้าวเปลือกเมล็ดข้าวเปลือกที่ไม่สมบูรณ์ ตรวจลักษณะทางกายภาพ เช่น น้ำหนักเมล็ด สี ขนาด รูปร่าง ความขาว ความใสขุ่น ของข้าวสาร และตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวเปลือก ซึ่งเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกได้แก่ เครื่องวัดความชื้น เครื่องวัดความยาวเมล็ด หลาววัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดความขาวของข้าวสาร

Subjectข้าวขาว--การตรวจสอบทางกายภาพ, ข้าวเปลือก--การตรวจสอบคุณภาพ, ข้าวสาร--ความขาว

English Title : How Thailand industries response under AEC
Author : ไชยันต์ พิมเสน
SourceFood Focus Thailand ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 (เมษายน 2554) หน้า 12-16
Abstractเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกภายใต้กรอบความตกลงหลัก 3 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ความตกลงด้านการค้าบริการและความตกลงการลงทุนอาเซียน ซึ่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนจะช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยเกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนอันเนื่องมาจากการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ทั้งด้านมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี สามารถส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารประเภทน้ำตาลทราย ข้าวผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป ซอสพริก เครื่องปรุงรส ได้มากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือเพื่ออำนวยนความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรลดต้นทุนการผลิตลงเพื่อให้มีต้นทุนที่สามารถแข่งได้ รวมถึงต้องเร่งสำรวจความต้องการของตลาด มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตที่หาได้กว้างขวางขึ้นและมีราคาถูกจากประเทศที่มีทรัพยากรในกลุ่มอาเซียนแสวงหาโอกาสทางการค้า และความรู้ด้านภาษาถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นเนื่องจากทำการค้าต้องมีการเจรจาต่อรอง ในอนาคตอาเซียนยังให้ความสำคัญกับการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ภายนอกกลุ่ม อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุนให้กับผู้ประกอบการในอาเซียนในการขยายตลาดและการลงทุนออกไปภายนอกได้อีกทางหนึ่ง

Subjectประชาคมอาเซียน--อุตสาหกรรมสำคัญ, อุตสาหกรรมอาหาร—แง่เศรษฐกิจ

English Title : Coated organic acid for extending shelf-life of food product
Author : สุปราณี วิวัฒนชัยวงศ์
SourceFood Focus Thailand ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 (เมษายน 2554) หน้า 27-29
Abstractอุตสาหกรรมอาหารหลากประเภทที่มีการประยุกต์ใช้กรดอินทรีย์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์และป้องกันการงอกของสปอร์ของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถทนความร้อนได้ เป็นการช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์อาหารและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเมื่อวัตถุดิบอาหารสัมผัสกับกรดโดยตรง คุณภาพของวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อลักษณะและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เมื่อผสมกรดอินทรีย์กับเนื้อสัตว์จะทำให้ร่างแหตาข่ายของเส้นใยโปรตีนแปรสภาพ และส่งผลกระทบถึงลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้หรือผลิตภัณฑ์ เบเกอรี่ เมื่อผสมกรดอินทรีย์กับแป้ง ขนมปังและส่วนประกอบอื่น กรดอินทรีย์จะไปยับยั้งการทำงานของยีสต์ทำให้ผลิตภัณฑ์ขนมปังที่ไม่ได้ขึ้นฟู ดังนั้นจึงมีการค้นคว้า วิจัยและพัฒนากรดอินทรีย์ ที่สามารถใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการเคลือบกรดอินทรีย์ด้วยน้ำมันปาล์ม ซึ่งกรดอินทรีย์ที่เคลือบด้วยน้ำมันปาล์มนี้สามารถยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร โดยไม่ทำให้ลักษณะและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารประเภทไส้กรอก แฮม ปูอัด ลูกชิ้น เค้ก ขนมปัง ไก่ชุบแป้งทอด ปอเปี๊ยะ ซาลาเปา เป็นต้น

Subjectอาหาร--กรดอินทรีย์, อาหาร--การเก็บรักษา, เนื้อสัตว์--ผลิตภัณฑ์--กรดอินทรีย์, เนื้อสัตว์ --ผลิตภัณฑ์--การเก็บรักษา