- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1725
Author : กชนิภา อุดมทวี และคนอื่นๆ.
Source : วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 11, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563) 131-143
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัถุประสงค์เพื่อการศึกษาความหลากหลายและความปลอดภัยของอาหารหมักพื้นบ้านจากแบคทีเรียก่อโรคในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์โดยเก็บตัวอย่าง 4 อำเภอ ได้แก่ กาบเชิง สังขะ พนมดงรัก และบัวเชด ครอบคลุมพื้นที่ 9 ตำบาล ได้แก่ กาบเชิง ด่าน แนงมุด โคกตะเคียน ตะเคียน ตาตุม บักได ตาเมียงและจรัส พบว่า มีอาหารหมักพื้นบ้าน จำนวน 41 ชนิด สามารถจัดได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ ธัญพืช เนื้อ ปลา ผัก ผลไม้ และอื่นๆ มีจำนวน 3 8 6 9 11 และ 4 ตามลำดับ พื้นที่ที่พบชนิดอาหารหมักพื้นบ้านมากที่สุด คือ ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง รองลงมาคือ ตำบลตะเคียน และตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง ตามลำดับ ด้านความปลอดภัยของอาหารหมักพื้นบ้านจากการเก็บตัวอย่าง จำนวน 144 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคจำนวน 14 ตัวอย่าง ในอาหารหมักพื้นบ้าน จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ขนมจีน แหนมหมู ไส้กรอกหมู ปลาจ่อม ผักกาดเขียวดอง กุ้งจ่อม และ ปูดอง โดยปูดองมีการปนเปื้อนแบทีเรียทุกชนิที่ศึกษาได้แก่ Salmonella sp. Staphylococcus aureus Escherichia coli Bacillus cereus และ Clostridium perfringens และรูปแบบอาหารหมักที่มีการปนเปื้อนมากที่สุด คือ อาหารหมักวางจำหน่าย การศึกษานี้อธิบายได้ว่าความหลากหลายของอาหารหมักพื้นบ้านขึ้นอยู่กับบริเวณที่ทำการเก็บตัวอย่างและทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบ และความปลอดภัยจากแบคทีเรียก่อโรคขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและขั้นตอนในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารหมักพื้นบ้าน.
Subject : อาหาร. อาหารหมัก. แบคทีเรีย. แบคทีเรียก่อโรค.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2305
Author : ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์ และคนอื่นๆ
Source : วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 11, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563) 66-82
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของสมุนไพรฮ่อม เพื่อศึกษาอัตรส่วนที่เหมาะสมในการเตรียมตำรับยาสมุนไพรฮ่อมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรฮ่อมลดไข้เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรฮ่อม และเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร ในชุมชนบ้านนาคูนา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ด้วยการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรลดไข้ในห้องปฏิบัติการร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ผลการศึกษาตำรับยาสมุนไพรประกอบด้วยสมุนไพรฮ่อมเป็นตัวยาหลัก เมนทอลเป็นตัวยาเสริม และสารเติมแต่งอื่นๆ ได้แก่ สารก่อเจล เอทานอล (ethanol) และกรีเซอรีน (glycerin) ได้ศึกษาชนิดของสารก่อเจลและอัตราส่วนของส่วนผสมที่เหมาะสมของสูตรตำรับยาเพื่อให้ได้ลักษณะเนื้อเจลนุ่นลื่นและเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเจลสมุนไพรเตรียมจากเนื้อเจลพื้นชนิดคาร์โบพอล (carbopol) ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักต่อปริมาตร ผสมเนื้อสมุนไพรฮ่อม และสารเติมแต่งในอัตราส่วนร้อยละ 60:25:15 โดยน้ำหนัก ผลการประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรฮ่อมที่ได้รับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทางด้านลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ด้านสี (เฉลี่ย=4.70) ด้านประสาทสัมผัส ได้แก่ ด้านกลิ่น (เฉลี่ย=4.65) ด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุหีบห่อพร้อมใช้ด้วยวัสดุทางการแพทย์ (หน้ากากอนามัยซีลขอบข้าง) และเนื้อเจลบรรจุถุงตาข่ายใส่ช่องแผ่นรัดฝ่าเท้า (เฉลี่ย=4.35) และด้านรูปแบบที่ต้องการให้พัฒนา ได้แก่ หลอดบีบ (เฉลี่ย=4.30) ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางส่งเสริมการนำสมุนไพรฮ่อมมาใช้สำหรับบรรเทาอาการไข้และการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มชุมชนพื้นที่สูง จังหวัดแพร่.
Subject : สมุนไพร. ไข้. การรักษาด้วยสมุนไพร. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร. ยาสมุนไพร.
แหล่งที่มาของภาพ : https://th.wikipedia.org/
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2039
Author : อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์, สุวินัย เกิดทับทิม, และสมเเกียรติ พรพิสุทธิมาศ.
Source : วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 10, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562) 137-149
Abstract : กระบวนการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าที่ส่งผลให้ผู้บริโภคยอมรับในคุณภาพ และเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การผลิตอาหารโดยชุมชนท้องถิ่นที่แสดงถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานั้นสามารถยกระดับคุณค่าของสินค้าได้ด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพและประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น ภาครัฐของประเทศไทยจึงมีมาตรการกำกับดูแลที่มุ่งเน้นการผลิตอาหารด้วยวิธีการถูกสุขลักษณะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ผลิต และผู้ประกอบอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตสำเร็จแล้วต้องถูกตรวงสอบทั้งด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาก่อนนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะได้รับเลขสารบบอาหาร 13 หลัก ซึ่งมีความหมายในด้านแหล่งที่มาของอาหารและสถานะของการได้รับอนึญาตให้ผลิต นอกจากนี้ผู้ประกอบการท้องถิ่นควรได้รับการตรวจสอบด้านคุณภาพเพื่อขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำปรึกษาในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมกับให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการผลิตอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ประกอบการท้องถิ่นจึงควรปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานที่ภาครัฐได้วางแนวทางไว้เพื่อผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.
Subject : ผลิตภัณฑ์อาหาร. ผลิตภัณฑ์อาหาร – มาตรฐาน.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2225
Author : ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน และนารินทร์ หล้าสม.
Source : เทคโนโลยีการอาหาร มหาลัยสยาม 13,2(ก.ค.-ธ.ค.2561)11-23
Abstract : เมล็ดพืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งของน้ำตาลโอลิโกแซคคาไรด์กลุ่มราฟฟิโนสซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสารพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้ เมล็ดถั่วเขียวผิวมัน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ได้ถูกนำมาสกัดน น้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลเล็กด้วยสารละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 (v/v) จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณน้ำตาลและศึกษาความสามารถของ น้ำตาลสกัดในการกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียบางสายพันธุ์จากทางเดินอาหารมนุษย์ ผลการทดลองพบว่าน น้ำตาลสกัดจากถั่วเขียวทั้ง 4 สายพันธุ์มีขนาดเฉลี่ยในรูปจำนวนหน่วยน้ำตาลอยู่ระหว่าง 3-7 หน่วย โดยพันธุ์กำแพงแสน 2 ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 พบน้ำตาลราฟฟิโนสในปริมาณ 1.76-2.29 mg/g dry seed สตาชิโอส 33.95-34.82 mg/g dry seed และเวอบาสโคส 13.59-20.31 mg/g dry seed น้ำตาลสกัดเหล่านี้ กระตุ้นการเจริญของแบคทีเรีย Lactobacillusacidophilus TISTR1338, L. plantarum TISTR541 และ L. lactis TISTR1464 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ไม่สามารถกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhimurium TISTR292 และ Escherichia coli นอกจากนี้ ยังพบว่าการเจริญของแบคทีเรีย S. Typhimurium สามารถถูกยับยั้งเมื่อเพาะเลี้ยงร่วมกับ Lactobacillus sp. ทั้ง 3 สายพันธุ์ในอาหารที่มีน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวเป็นแหล่งคาร์บอน ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวผิวมันทั้ง 4 สายพันธุ์แสดงคุณสมบัติเบื้องต้นในการเป็นสารพรีไบโอติกได้
Subject : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ – วิจัย. น้ำตาล. ถั่วเขียว. เอทานอล. Prebiotics. พรีไบโอติก. โอลิโกแซ็กคาไรด์. แบคทีเรีย. Oligosaccharid
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com