Author : อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 716 (1 เม.ย. 2563) 58-63
Abstract : สะแลเป็นพืชเถาไม้เลื้อย พบในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือของประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ สะแลสร้อยและสะแลป้อม สะแลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Broussonetie kurreii corner การรับประทานสะแลนิยมนำดอกสะแลทำเป็นแกง ยำ โดยรสชาติของดอกสะแล มีรสจืด มัน ลื่นเล็กน้อย ดอกหรือลูกสะแล 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 79 กิโลแคลอรี มีเส้นใย 1.6 กรัม แคลเซียม 39.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 110.6 มิลลิกรัม เหล็ก 1.65 มิลลิกรัม โซเดียม 8.51 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 379.6 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.54 มิลลิกรัม วิตามินซี 15 มิลลิกรัม รวมทั้งมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ เบต้าแคโรทีน สารแอนติออกซิแดนท์ สารโพลิฟินอล เป็นผักที่ช่วยปรับระบบการย่อยอาหาร รักษากรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารและลำไส้.


Subject : อาหาร. สะแล. สะแล -- สรรพคุณทางยา. สะแล -- แง่โภชนาการ. ผัก.

Author : วีรยุทธ สุทธิรักษ์, เกรียงไกร สุภโตษะ และทรรศน์สรัล รัตนทัศนีย์.
Source : กสิกร 91, 4 (พ.ค.-มิ.ย. 2561) 81-86
Abstract : ทุเรียน เป็นผลไม้ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านการส่งออก ซึ่งการส่งออกผลทุเรียนสดของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนและเขตบริเวณพิเศษฮ่องกง ผู้ส่งออกมักนำสารเร่งสุกมาใช้กับผลทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อกระตุ้นการสุกของผลทุเรียนในระหว่างการขนส่ง ทำให้มีการตรวจพบสารเร่งสุกตกค้างในผลทุเรียนสูงกว่าข้อกำหนด ส่งผลกระทบต่อการส่งออก อีทีฟอนเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการสุกของผลไม้ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี ค.ศ.1973 โดย US Environmental Protection Agency อีทีฟอนมีความเป็นพิษแบบเฉียบพลันเนื่องจากทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและดวงตา มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของ cholinesterase enzyme ทำให้เกิดการสะสมของ acytylcholine ในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการผิดปกติของระบบประสาทกล้ามเนื้อและสมอง ปริมาณการตกค้างสูงสุดของอีทีฟอนในผลทุเรียนสดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9002-2559 ของประเทศไทยกำหนดค่าเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณประชาชนจีน กำหนดค่าเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสหภาพยุโรป กำหนดเท่ากับ 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม.


Subject : Ethephon. ทุเรียน -- การส่งออก. สารกระตุ้นการเจริญเติบโต. อีทีฟอน. สารเคมีทางการเกษตร.

Author : Romina Bodoira … [et al.].

Source : Journal of Food Science. 84(5)2019:963-970

Abstract : A process to obtain phenolic compounds with antioxidant properties from pistachio nuts using water/ethanol mixture under high temperature and pressure conditions was carried out. To optimize extraction conditions and antioxidant activity of bioactive compounds, theoretical models were scanned against experimental data. Phenolic profile was dominated by several flavonoids and gallic acid derivatives. A fitted model for phenolic compounds extraction presented a maximum predicted value under the following conditions: 220 °C extraction temperature, 6.5 MPa pressure, and 50% ethanol. Beneath these conditions, phenolic extracts gave the highest radical scavenging capacity, similar to that reached by using commercial antioxidants. A mathematical model, namely two‐site desorption kinetic model, showed to be suitable for the description of extraction kinetics under the optimal operation conditions. Overall, the process described in this study shows a potential alternative method for extraction of pistachio bioactive compounds.

Subject : Antioxidant activity. Phenolic compounds. Pistachio. Subcritical fluid extraction. Water.

Author : Maria Eugenia Hidalgo … [et al.].

Source : Journal of Food Science. 84(5)2019:980-989

Abstract : The aim of this work was to evaluate the cholesterol extraction process in ice cream mixes (ICMs) by using β‐cyclodextrin (βCD) and to analyze the effect of this extraction on the ICM rheological, stability, and sensory characteristics. The effects of fat and whey protein (WP) additions on ICM stability were also evaluated. The maximum percentage obtained for cholesterol extraction was 93.6%. The flow curves indicated that ICM showed a thixotropic behavior before and after cholesterol extraction, which was enhanced when the fat content and/or percentage of βCD increased. The stability of ICM with cholesterol‐reduced content (RCho‐ICM) was influenced by the fat content and/or the presence of WP. The RCho‐ICM with the highest fat and/or WP addition showed less tendency to melt and had the smallest amount of accumulated molten liquid. These latter ICMs presented the slowest melting rates. Also, RCho‐ICMs proved to be more stable than ICMs. RCho‐ICM samples obtained with a ratio of βCD/fat content of 1% w/w were evaluated by a trained sensory panel. In addition, an acceptability test of the sample with better sensory attributes was conducted.

Subject : Cyclodextrin. Cholesterol extraction. Ice cream mix stability. Rheological behavior. Proteins.