Author : สุมิตรา จันทร์เงา
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 26 ฉบับที่ 570 ว/ด/ป มี.ค. 2557 หน้า 100-101
Abstract : ข่า (Galanga, Greater Galangal, False Galangal) พืชที่มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีใบ ดอก ผล และเมล็ด เป็นพืชสมุนไพรสารพัดประโยชน์ที่ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุไฟ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเลือดลม เพิ่มการไหลเวียนของเลือด การเผาผลาญของร่างกาย แก้หวัด ไอ เจ็บคอ อาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย กลากเกลื้อน และในตำราสมุนไพรยังระบุว่า ข่ามีฤทธิ์ขับรก ขับน้ำคาวปลาได้ดี ด้วยการใช้เหง้าข่านำมาตำกับมะขามเปียกและเกลือให้หญิงหลังคลอดรับประทาน นอกจากนี้ ข่ายังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมเพื่อช่วยระงับกลิ่นปาก กลิ่นกาย นำไปผลิตหรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่มชา ทำรูปประคบ สเปรย์ดับกลิ่น ฯลฯ.

Subjectข่า--สรรพคุณทางยา--การใช้ประโยชน์.

Author : กองบรรณาธิการ
SourceNFI QUARTERLY ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2552) หน้า. 50-53
Abstract : ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร ผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคในประเทศ และผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายสำคัญของโลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME จะต้องปรับตัวพัฒนาคุณภาพการผลิตให้ก้าวตามทันมาตรฐานอาหารของนานาชาติในระดับสากล ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก และองค์การด้านอาหารระหว่างประเทศ สำหรับระบบตรวจสอบควบคุมคุณภาพที่สำคัญ และประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ ได้แก่ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice : GMP) , การวิเคราะห์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในผลิตภัณฑ์อาหาร (Hazard Analysis Critical Control Point : HACCP), มาตรฐานสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศอังกฤษสำหรับผู้ผลิตอาหาร (British Retail Consortium Standard-Food : BRC), มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (International Food Standard : IFS), มาตรฐานคุณภาพอาหารปลอดภัย (Safe Quality Food : SQF), ฮาลาล (HALAL), ระบบการบริหารงานความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000 : Requirements for a Food Safety Management System) และระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2000.

Sourceพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 25 ฉบับที่ 87 ว/ด/ป ก.ค.-ก.ย. 2556 หน้า 10-14
Abstract : โรคเบาหวาน เป็นเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดการคั่วของน้ำตาลในเลือดในอวัยวะต่างๆ เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม นอกจากนั้น สิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหาร ความเครียด ยาขับปัสสาวะ ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมากกว่าปกติ ถึงแม้เบาหวานจะเน้นโรคเรื้อรัง ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต แต่ก็สามารถใช้ชีวิตปกติได้โดยการดูแลสุขภาพ เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างสม่ำเสมอ ใช้ยาให้น้อยที่สุด โดยการรับประทานอาหารให้ถูกส่วน มีสมุนไพรที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมีรายงานการศึกษาสนับสนุนว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เป็นพืชผักที่หาง่าย และมีความปลอดภัยสูง ได้แก่ มะระขี้นก เตยหอม กะเพรา ตำลึง อบเชยจีน อินทนิลน้ำ ช้าพลู มะรุม บัวบก ซึ่งในบทความจะให้รายละเอียดของสมุนไพรแต่ละชนิดไว้ด้วย การรับประทานสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน เป็นทรงหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณการใช้ยา ลดค่าใช้จ่ายและลดผลข้างเคียงของยาได้.

Author : วิรัตน์ ทองรอด
Sourceหมอชาวบ้าน ปีที่ 32 ฉบับที่ 378 ว/ด/ป ต.ค. 2553 หน้าที่ 28-31
Abstractกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยม สาระสำคัญที่พบในกาแฟคือ กาเฟอีน (calfeine) ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้เมื่อดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว ไม่ง่วงนอน จากการที่กาแฟได้รับความนิยมทำให้มีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ในลักษณะกาแฟสูตรผสมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่างๆ เช่น โสม ไฟเบอร์ เกลือแร่ ฯลฯ และโฆษณาเป็นกาแฟเพื่อสุขภาพ ค่านิยมในปัจจุบันนิยมการผอมเพรียวร่วมกับกระแสบริโภคนิยมจึงเกิดการสร้างผลิตภัณฑ์กาแฟลดความอ้วนที่มีการเพิ่มสารอาหาร เช่น ไฟเบอร์ คอลลาเจน แอล-คาร์นิทีน และโครเมียม ซึ่งยังไม่พบหลักฐานทางการแพทย์ว่าสารเหล่านี้มีคุณสมบัติลดความอ้วน ยิ่งกว่านั้นมีกาแฟบางผลิตภัณฑ์ที่ผสมยาลดความอ้วน เช่น ไซบรูทรามีน (Sibutramine) ซึ่งมีอันตรายสูงอีกด้วย ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรอ่านฉลากให้ชัดเจนและใช้วิจารณญาณต่อการขายและการโฆษณา.


Subjectกาแฟเพื่อสุขภาพ.