English Title : Manually made of fruit jelly.
Author : ชุติมา อัศวเสถียร
Sourceกสิกร ปีที่ 80 ฉบับที่ 4 ว/ด/ป ก.ค.-ส.ค. 2550 หน้า 103-108
Abstract : เยลลี่เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งทำจากน้ำผลไม้ที่ได้มาจากกการคั้น หรือสกัดจากผลไม้สด หรือน้ำผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ผสมกับสารที่ให้ความหวาน และทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ โดยไม่มีเนื้อผลไม้เจือปน บทความนี้ได้นำเสนอข้อมูลของส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตเยลลี่ผลไม้ ซึ่งประกอบด้วยผลไม้หรือน้ำผลไม้ สารที่ให้ความหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย เดกซโตรส ฟรุกโตสไซรัป กลูโคสไซรัป สารช่วยทำให้ข้น ได้แก่ เพคติน และ คาราจีแนน กรดและน้ำสะอาด ทั้งนี้ได้แสดงตารางปริมาณเพคตินในผลไม้ไทย ผลไม้ไทยแบ่งตามปริมาณเพคติน และกรด ผลไม้แบ่งเป็นกลุ่มตามการเติมเพคติน และกรดในการผลิตเยลลี่ นอกจากนี้ยังอธิบายวิธีทำเยลลี่ผลไม้ ปัจจัยที่มีผลต่อการแข็งตัวของเจล ตลอดจนปัญหาในการผลิตเยลลี่ ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันพร้อมกับวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

Subjectเยลลี่--ผลไม้

English Title : The role of vitamins to enhancing collagen.
Author : รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์
Sourceนิตยสาร สสวท. ปีที่ 37 ฉบับที่ 160 ว/ด/ป พ.ค.-มิย. 2552 หน้า 42-45
Abstract : คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนชนิดเส้นใยที่ประสานกันอยู่นอกเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นผิวหนังแท้ ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ กระดูกและเอ็น การสังเคราะห์คอลลาเจน เกิดขึ้นตลอดเวลาที่เรายังมีชีวิตอยู่ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพ มีงานวิจัยที่ค้นพบสาเหตุการเสื่อมสลายของคอลลาเจน ซึ่งเกิดจากเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรตีเนส (matrix metalloprotenase หรือ MMPs) ดังนั้นการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MMPs จะช่วยทำให้คอลลาเจนถูกทำลายลดลงได้ ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่าวิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บอก (ascorbic acid) ในรูปของ L-ascorbic acid ซึ่งพบได้ในผักและผลไม้ สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ MMPs รวมทั้งเป็นปัจจัยร่วมระหว่างขั้นตอนการสังเคราะห์คอลลาเจน หากร่างกายขาดวิตามินซี คอลลาเจนที่สร้างขึ้นก็จะเกิดการแตกหักและนำไปสู่อาการผิดปกติของโรคต่างๆ เช่น โรคลักปิดลักเปิดได้

Subjectวิตามินซี--คุณสมบัติ, คอลลาเจน

English Title : Story of tea.
Author : ศุภชัย ติยวรนันท์
Sourceนิตยสาร สสวท. ปีที่ 35 ฉบับที่ 148 ว/ด/ป พ.ค.-มิ.ย. 2550 หน้า 42-44  --Publisher
Abstract : บทความนี้นำเสนอประวัติความเป็นมาของชาในด้านการกระจายพันธุ์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Camellia sinensis และการแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากใบชาที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่มจำแนกตามกรรมวิธีการผลิตซึ่งมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ใบชาที่ไม่ผ่านการหมักที่เรียกว่า ชาขาว และชาเขียว ใบชาที่ผ่านการหมักกึ่งหนึ่ง ที่เรียกว่า ชาอูหลง และใบชาที่ผ่านการหมักสมบูรณ์ ที่เรียกว่า ชาดำ โดยอธิบายการเก็บเกี่ยว กรรมวิธีการผลิต และความนิยมของกลุ่มผู้บริโภคของชาแต่ละกลุ่มด้วย นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีในชาและผลของสารเคมีดังกล่าวในการทำงานของร่างกายและส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ หรือเภสัชวิทยาของชา ยกตัวอย่าง ฟลาโวนอยด์ กรดอะมิโน วิตามิน คาเฟอีน และน้ำตาลหลายโมเลกุล รวมทั้งแสดงตารางปริมาณธาตุอาหารในเครื่องดื่มชาและความต้องการของร่างกายมนุษย์อีกด้วย

Subject : ชา--สารอาหาร, ชา--สารเคมี, ชา--ประเภท

English Title : New technology in the phase separation to minimize the loss in production.
Author : เกียรติคุณ สถิรเจริญกุล
SourceFOOD FOCUS THAILAND ปีที่ 4 ฉบับที่ 43 ว/ด/ป ต.ค. 2552 หน้า 24-25
Abstract : การแยกเฟส คือ การแยกเอาสิ่งที่ต้องการออกมาจากสารผสมโดยอาศัยคุณสมบัติทางกายภาพ กระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมี 2 ลักษณะ คือ การแยกเฟสของแข็งกับของเหลว และการแยกเฟสของเหลวกับของเหลว ส่วนมากจะใช้พนักงาน ซึ่งมักจะพบปัญหาเรื่องความผิดพลาด เพราะพนักงานแต่ละคนมีการตอบสนองต่อสีหรือความขุ่นต่างกันและรวดเร็วไม่เท่ากัน ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อแก้ปัญหา โดยออกแบบเครื่องมือที่สามารถใช้ตรวจวัดได้ทั้งค่าสีและค่าความขุ่นในเวลาเดียวกัน ผลิตจากวัสดุสแตนเลสสติลทั้งหมด หลักการวัดจะอาศัยการวัดค่าการสะท้อนแสง (Reflection) และการดูดกลืนแสง (Absorption) จากแสงของหลอด LED 4 สี ประกอบด้วยหลอดอินฟราเรด สีเขียว สีแดง และสีน้ำเงิน โดยหลอดอินฟราเรดจะใช้สำหรับการวัดความขุ่น ส่วนหลอดที่เหลือจะใช้ในการวัดสี สำหรับโรงงานที่ประสบปัญหาในกระบวนการแยกเฟส คงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่ากับเทคโนโลยี RAMS (Reflection Absorption Multi Switch) ที่เป็นเครื่องมือที่ใช้แสงในการตรวจวัดค่า โดยสามารถวัดได้ทั้งสีและความขุ่น

Subjectอุตสาหกรรมอาหาร--กระบวนการแยกเฟส