- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1609
English Title : Non-destructive assessment of mango attibutes using electrical impedance method
Author : พนิดา บัลลพ์วานิช
Source : วิทยานิพนธ์. (2017) 116 หน้า
Abstract : The purpose of this study was to investigate a suitable type and design of electrodes that can be used of non-destructive assessment of mango attributes via the electrical impedance method. Twenty-four mangoes cv. Nam Dok Mai No.4 were stored at 28±2 °C for one week (days 0-7); 3 samples were taken daily to evaluate the mango ripening stage. The impedance and phase angle of the mangoes were measured using and LCR meter within the frequency range of 20-400 kHz. Quality attributes including, color (i.e., L*, a*, b*, h*, c* and ΔE), texture (i.e.,skin firmness, flesh firmness and stiffness), soluble solids content (SSC) and titratable acidity (TA) were measured as the standard attributes of mangoes. Effects of electrode type (i.e., copper rivet, ECG and copper plate) and size (i.e., small (12.5x90 mm), medium (25x90 mm), and large (50x90 mm) were studied in order to select a suitable electrode design for the mangoes. The results showed that when using copper rivet electrodes, no correlation between the mango impedance and the ripening stage could be obtained due to the effect of air gap between the electrodes and sample surface. Using ECG and small copper plates at a frequency between 20-100 kHz resulted in a significant decrease in the impedance as the storage time increased (p<0.05); above 100 kHz a slightly decrease in the impedance was observed. At 20-100 kHz, both electrodes could classify the ripening of mangoes into 3 stages. Since ECG has a limited lifetime due to gel dehydration, which affects the value of the impedance, the copper plate electrodes were selected based on its robustness. Although all sizes of copper plate electrodes could classify mango into 3 ripening stages, using the large electrodes at 20 kHz gave the best fit between the measured impedance and the changes in the main physical as well as chemical attributes of the mangoes (i.e., h* value, stiffness and TA) during ripening as indicated by R²=0.952-0.980 and RMSE=0.117-0.803.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของอิเล็กโทรดและการออกแบบของอิเล็กโทรดที่สามารถใช้สำหรับการประเมินคุณลักษณะของมะม่วงแบบไม่ทำลายด้วยวิธีอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า โดยทำการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 จำนวน 24 ลูก ที่อุณหภูมิ 28±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ (วันที่ 0-7) ในทุกวันจะสุ่มตัวอย่างมะม่วงจำนวน 3 ลูก ออกมาวัดระดับความสุก โดยใช้เครื่องแอลซีอาร์มิเตอร์ในการวัดอิมพีแดนซ์และมุมเฟสของมะม่วงในช่วงความถึ่ 20-400 กิโลเฮิร์ตซ ทั้งนั้ วัดคุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ สี (ได้แก่ L* a* b* h* c* และ ΔE ) เนื้อสัมผัส (ได้แก่ ความแน่นที่ผิว ความแน่นของเนื้อ และความแน่นแข็ง) ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ และความเป็นกรดจาการไทเทรต ไว้เป็นคุณลักษณะมาตฐานของมะม่วง จากนั้นศึกษาอิทธิพลของชนิดอิเล็กโทรด (ได้แก่หมุดทองแดง แผ่นตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และแผ่นทองแดงขนาดเล็ก) และขนาด (ได้แก่ ขนาดเล็ก (12.5x90 มิลลิเมตร) ขนาดกลาง (50x90 มิลลิเมตร) เพื่อเลือกรูปแบบของอิเล็กโทรดที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง จากผลการทดลอง พบว่า ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอิมพีแดนซ์ของมะม่วงกับระดับความสุกเมื่อใช้อิเล็กโทรดหมุดทองแดง เนื่องจากผลของช่องว่างอากาศระหว่างอิเล็กโทรดกับผิวหน้าตัวอย่าง เมื่อใช้แผ่นตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและแผ่นทองแดงขนาดเล็ก พบว่า ที่ความถี่ 20-100 กิโลเฮิร์ตซ อิมพีแดนซ์มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อระยะเวลาการเก็บเพิ่มขึ้น (p<0.05) และเมื่อความถี่สูงกว่า 100 กิโลเฮิร์ตซ อิมพีแดนซ์มีค่าลดลงเพียงเล็กน้อย ที่ความถี่ 20-100 กิโลเฮิร์ตซ อิเล็กโทรดทั้งสองชนิดสามารถแบ่งระดับความสุกของมะม่วงออกได้เป็น 3 ระดับ แต่เนื่องจากแผ่นตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีอายุการใช้งานที่จำกัดจากการระเหยของเจล ซึ่งส่งผลต่อค่าอิมพีแดนซ์ จึงเลือกใช้แผ่นทองแดงที่มีความคงทนกว่า แม้ว่าอิเล็กโทรดแผ่นทองแดงทุกขนาดจะสามารถแบ่งระดับความสุกของมะม่วงออกได้เป็น 3 ระดับ แต่พบความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างค่าอิมพีแดนซ์ที่วัดได้กับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะหลักทางกายภาพและทางเคมีของมะม่วง (ได้แก่ h* ความหนาแน่นแข็งและความเป็นกรดจากการไทเทรต) ระหว่างการสุกจากการใช้อิเล็กโทรดขนาดใหญ่ที่ความถี่ 20 กิโลเฮิร์ตซ R²=0.952-0.980 และ RMSE=0.117-0.803
Subject : Mango. Impedance. มะม่วง. อิมพีแดนซ์.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1597
English Title : Growth kinetics during granulation of cassava pearl
Author : สุวลักษณ์ อัศวสันติ
Source : วิทยานิพนธ์. (2003) 80 หน้า
Abstract : This research aims to study the effect of particle size of wet starch feed, 40 percent moisture content, on the growth mechanism, rate of growth and density of cassava pearl during the granulation process using batch drum granulator. The experiments were divided into two sections. First section was performed in order to observe the granulation mechanisms of cassava pearl using three different feed conditions, namely broad, narrow and selected size distribution feeds. It was found that both coalescence and layering mechanisms contribute the growth of cassava pearl during the first stage granulation. For narrow size distribution feed, the coalescence of large particles did not enlarge the particle size of cassava pearls. Instead, it caused the attrition and breakage of the initial feed particles In contrast, the initial feed particles grew larger by random coalescence and layering of selected size distribution feed. In addition, form the determination of densities of various sizes of cassava oearkm ut was found that the density increased as the particle size increased. This resulted in unsuccessful collision between large granules This means none of new particles were formed. In the second section, the rates of growth of cassava pearl using broad and selected size distribution feeds were estimated using the experimental results. Moreover, new granulation method was proposed using a series of batch drum granulators. It was found that the rate of growth of cassava pearl using selected size distribution feed was higher than that of broad size distribution feed. Therefore, the selected size distribution feed was suggested to be used in the subequent stage of granulation using a series of four batch drum granulators where as broad size distribution feed was used in the first stage. After granulation for 32 min, 5.57 mm in diameter cassava pearls were obtained.
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของขนาดอนุภาคเริ่มต้นของแป้งมันสำปะหลังที่ระดับความชื้นประมาณร้อยละ 40 ที่มีต่อกลไกการเกิด และความหนาแน่น ของเม็ดสาคูในระหว่างกระบวนการขึ้นรูปโดยเครื่องขึ้นรูปแบบหมุนชนิดไม่ต่อเนื่อง (batch drum granulator) การทดลองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการศึกษากลไกการเกิดเม็ดสาคูโดยใช้แป้งที่มีการกระจายขนาดที่แตกต่างกันสามแบบ ได้แก่ แบบกว้าง แบบแคบ และแบบเฉพาะเจาะจง จากการทดลองพบว่า กลไกที่มีผลต่อการขยายขนาดของเม็ดสาคูในช่วงแรกของการขึ้นรูปคือ coalescence และ layering จากการขึ้นรูปเม็ดสาคูโดยใช้แป้งที่มีการกระจายขนาดแบบแคบพบว่า การชนกันของอนุภาคขนาดใหญ่ไม่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันให้เป็นอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่กลับทำให้เกิดการสึกกร่อนและการแตกของอนุภาคแป้งเริ่มต้น ในทางกลับกันเมื่อใช้แป้งที่มีการกระจายขนาดแบบเฉพาะเจาะจงพบว่าอนุภาคมีการขยายขนาดอันเนื่องมาจากการรวมตัวแบบ random coalescence และ layering นอกจากนั้นพบว่าความหนาแน่นของเม็ดสาคูมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อสาคูมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งส่งผลให้การชนกันของอนุภาคขนาดใหญ่ไม่ก่อให้เกิดการขยายขนาดของเม็ดสาคู ในส่วนที่สองเป็นการศึกาาอัตราการขยายขนาดของเม็ดสาคูที่ได้จากการขึ้นรูปของแป้งที่มีการกระจายขนาดแบบกว้าง และแบบเฉพาะเจาะจง โดยประเมินจากผลการทดลอง นอกจากนี้ได้มีการนำเสนอวิธีการขึ้นรูปแบบใหม่สำหรับเม็ดสาคูขนาดใหญ่ จากการต่อนุกรมาของเครื่องแบบหมุนพบว่าการขึ้นรูปของแป้งที่มีการกระจายขนาดของอนุภาคเริ่มต้นแบบเฉพาะเจาะจงมีอันตราการขยายขนาดของเม็ดสาคูที่สูงกว่าการขึ้นรูปแป้งที่มีการกระจายแบบกว้าง ดังนั้นในการกระบวนการขึ้นรูปเม็ดสาคูที่ใช้การต่ออนุกรมของเครื่องขึ้นรูปแบบหมุนจำนวน 4 เครื่อง ควรใช้แป้งซึ่งมีการกระจายขนาดแบบกว้างในขั้นตอนแรก และใช้แป้งซึ่งมีการกระจายขนาดแบบเฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่อไปซึ่งจะให้ขนาดอนุภาคสุดท้ายของเม็ดสาคูมีค่าเท่ากับ 5.57 มิลลิเมตร โดยใช้เวลาในการขึ้นรูปทั้งหมด 32 นาที
Subject : Tapioca starch. Tapioca starch -- Experimentation. แป้งมันสำปะหลัง. แป้งมันสำปะหลัง -- การทดลอง
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1800
English Title : Effect of roasting temperatures on degradation of polyphenol contents in Oolong tea
Author : ประสิทธิ์ สุธรรมวงศ์
Source : วิทยานิพนธ์. (2007) 109 หน้า
Abstract : Antioxidants in tea are essential substances for health enhancement, however, losses occur during tea processing. This study aimed to investigate the effect of roasting temperature on the degradation of total polyphenols in Oolong tea. The bench scale tea roaster, which was scaled down from a commercial roaster, was designed, constructed and tested before performing the experiment. Roasting temperature was varied by setting the pressure of liquefied petroleum gas (LPG), which was used as energy source for roasting. The roasting temperatures of 74.5, 77.4, 81.5, 81.7, and 83.5 °C corresponded to the LPG pressures of 8, 14, 20, 26 and 32 psig, respectively. It was found that the roasting temperatures and roasting time significantly affected the moisture content and total polyphenols in tea (P≤0.05). The rate of total polyphenols degradation increased when the roasting temperature and time increased. Degradation of total polyphenols during roasting followed the first-order reaction and this degradation conformed to Arrhenius equation The activation energy of the degradation reaction of total polyphenols is 38 kJ/mol. Finally, the relationship between the moisture content and temperature of tea with polyphenol contents during roasting was determined in order to specify the end point of tea roasting. At fixed moisture content, low roasting temperature and long time could better preserve polyphenols in tea.
ใบชาเป็นแห้ล่งของสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสารที่มีคุรประโยชน์ทางโภชนาการ ในระหว่างกระบวนการผลิตชาพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนหนึ่งเสื่อมสลายไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิการคั่วชาต่อการสลายตัวของสารโพลีฟีนนอลในขั้นตอนการคั่วชา เพื่อทำการศึกษาเครื่องคั่วชาขนาดทดลองได้ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาวะในกระบวนการคั่วชา โดยอาศัยการย่อขนาดจากเครื่องคั่วที่ใช้ในการผลิตจริง เครื่องคั่วที่ทำการศึกษาใช้แก๊สปิโตรเลียมเหลว (liquefied petroleum gas : LPG) หรือแก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง โดยอุณหภูมิในการคั่วควบคุมโดยการปรับความดันของแก๊สหุงต้ม จากการศึกาาพบว่าที่ความดัน 8, 14, 20, 26, และ 32 psig ใบชามีอุรหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 74.5, 77.4, 81.5, 81.7 และ 83.5 °C ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มเวลาและอุณหภูมิ มีผลทำหให้ความชื้นและสารโพลีฟีนอลในใบชาอู่หลงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ซึ่งปฏิกิริยาการลดลงเป้นปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่ง และสามารถอธิบายได้ด้วยสมการของ Arrhenius พลังงานก่อกัมมันต์ในการสลายตัวของสารโพลีฟีนนอลระหว่างการคั่ว มีค่าเท่ากับ 38 กิโลจูลต่อโมล ในท้ายที่สุดพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ค่าความชื้นและสารโพลีฟีนนอลในใบชาสามารถนำไปใช้ในการอธิบายจุดสิ้นสุดของกระวนการคั่วชาจากข้อดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าที่ค่าความชื้นเดียวกันควรใช้อุณหภูมิการคั่วชาที่ต่ำและเวลานานเพื่อรักษาสารโพลีฟีนนอลในใบชา
Subject : Poly phenols. Tea -- Effect of temperature on. พอลิพีนอล. ชา -- ผลกระทบจากอุณหภูมิ.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1880
English Title : Evolution of antioxidant compounds during drying of lime residues
Author : ฐิติมา กุลจรัสอนันต์
Source : วิทยานิพนธ์. (2007) 103 หน้า
Abstract : The evolution of the amount of selected antioxidant compound in lime residues during hot air drying at 60-120 °C was investigated in this study. The potential antioxidants in lime residues, i.e., vitamin C, phenolic compounds, nomilin and limonin, were of interest. Higher losses, in terms of antioxidant contents and activities, were observed at higher drying temperatures. Nomilin and limonin contents increased during the early stage of drying and decreased afterwards while the amount of vitamin C and phenolic compounds decreased steadily with the drying time. These phenomena resulted in the loss of antioxidant activity of the final product. Drying the lime residues at 60 °C was recommended to obtain the dried lime residue power with highest total antioxidant activity.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากาาเปลี่ยนแปลงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระของกากมะนาวในระหว่างการอบแห้งที่อุณหภูมิ 60-120 °C โดยสารต้านอนุมูลอิสระของกากมะนาวที่สนใจศึกษาได้แก่ วิตามินซี สารประกอบฟีนอลิก นอมิลิน และลิโมนิน จากผลการทดลองพบว่า การอบแห้งที่อุณหภูมิสูงมีผลต่อการสูญเสียฤทธิ์และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ และพบว่า ในระหว่างการอบแห้ง ปริมาณสารนอมิลินและลิโมนินมีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงแรกของการอบแห้งและลดลงในช่วงถัดมา ในขณะที่ปริมาณวิทตามินซีและสารประกอบฟีนอลิก ลดลงตลอดระยะเวลาการอบแห้ง ซึ่งนำไปสู่การลดลงของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์สุดท้าย จากผลการทดลองอาจสรุปได้ว่า การอบแห้งกากมะนาวที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ช่วยรักษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุด สำหรับสภาวะการอบแห้งที่ใช้ในการทดลอง
Subject : Lemon. Antioxidant. Phenols. มะนาว. สารต้านอนุมูลอิสระ. การอบแห้ง. ฟีนอลิก