- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1720
English Title : Effect of kraft lignin on properties of defatted rice bran protein blend
Author : ปิยาภรณ์ รัตนธรรม
Source : วิทยานิพนธ์. (2012) 73 หน้า
Abstract : The aim of this research was to study the effect of Kraft lignin (KL) on rheological dn functional properties of defatted rice bran protein (DRBP) blend. DRBP was extracted from defatted rice bran by alkaline extraction. DRBP p;asticized with 30% glycerol was blended with 0-70% KL and then hot-molded using compression molding. Viscosity, storage modulus, mechanica properties and water absorption of plasticized KL/DRBP blend were respectively determined by capillary rheometer, dynamic mechanical thermal analysis, texture analyzer and water immersion method. Concerning the rheological properties, KL addition resulted in a decrease in viscosity and storage modulus in rubbery state of DRBP blends at processing temperature. In addition, an introduction of KL in DRBP blend improved functional properties and water absorption. The KL/DRBP bioplastics exhibited higher Young's modulus and tensile strength and lower water absorption compared to DRBP-based materials.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาอิทธิพลของการเติมลิกนินคราฟท์ที่มีผลต่อสมบัติทางรีโอโลจีและสมบัติเชิงหน้าที่ของวัสดุจากโปรตีนรำข้าวสกัดน้ำมัน ทำการศึกษาโดยสกัดโปรตีนจากรำข้าวสกัดด้วยด่างที่พีเอช 9 และตกตะกอนโปรตีนที่ค่าจุดไอโซอิเลคทริคที่พีเอช 4 จากนั้นนำโปรตีนที่ได้จากการสกัดเตรียมโดยการผสมกับกลีเซอร์รอลซึ่งเป็นพลาสติไซเซอร์ในปริมาณร้อยละ 30 และลิกนินคราฟท์ตั้งแต่ร้อยละ 0-70 จากน้ันขึ้นรูปด้วยความร้อนโดยวิธีการอัดด้วยแรงดัน ความหนืดของของผสมทดสอบโดยใช้เครื่องคาปิลารี่รีโอมิเตอร์, สมบัติเชิงกลทดสอบด้วยเครื่องวัดเนื้อสัมผัส และการดูดซับน้ำของวัสดุย่อยสบายได้จากโปรตีนรำข้าวสกัด สำหรับสมบัติการไหลการเติมลิกนินคราฟท์ช่วยลดความหนืดและค่ามอดูลัสสะสมในสภาวะคล้ายยางในวัสดุผสมที่อุณหภูมิในการผลิต นอกจากนี้การเติมลิกนินคราฟท์ลงในโปรตีนรำข้าวสกดัดช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกลและสมบัติการดูดซึมน้ำของวัสดุย่อยสลายได้ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุย่อยสลายได้จากโปรตีนรำข้าวสกัดที่ไม่ได้เติมลิกนินคราฟท์
Subject : Rice bran. Rice oil. Lignin. รำข้าว. น้ำมันรำ. ลิกนิน.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2814
English Title : Production of dried ivy gourd sheet as a health snack
Author : สุวจี แสนคำ
Source : วิทยานิพนธ์. (2008) 115 หน้า
Abstract : Ivy ground (Coccinia grandis) is well known as a rich source of ß-carotene. To add value to the fresh leaves, a process to produce dried ivy grourd sheet as a health snack was developed in this study. The effects of pretreatment, i.e., blanching isn NaCl solution (0-3% w/v), and drying methods, i.e., hot air drying and vacuum drying (controlled pressure at 7 kPa) at 60-80 °C , on the drying characteristics and quality of dried ivy groud sheet were investigated. The results showed that blanching in higher NaCl concentrations and for longer time resulted in the samples with lower initial moisture contents. The drying time to reach the desired moisture content (3.0-4.5% dry basis) was also shorter. Blanching in NaCl solution could also improve the color and texture of dried ivy gourd sheet compared with the sample pretreated by hot water blanching. For the effect of the drying method, it was found that vacuum drying could provide faster drying, hence reduced time to dry the samples. By making a comparison at a similar drying temperature, vacuum drying could provide better retention of ß-carotene and chlorophyll. Howerver, no significant differences in texture of the dried samples were observed.
ผักตำลึงจัดเป็นผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดที่จะนำผักตำลึงมาปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยการผลิตเป็นอาหารว่างเพื่อสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการผลิตผักตำลึงแผ่นอบแห้งเป็นอาหารว่างเพื่อสุขภาพ โดยทำการทดลองศึกษาผลของการบำบัดเบื้องต้น คือ การลวกในน้ำเกลือที่ความเข้มข้น 0-3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และผลของการอบแห้งด้วยลมร้อนและการอบแห้งแบบสุญญากาศ (ทำการทดลอง ณ ความดัน 7 กิโลปาสคาล) ที่อุณหหภูมิ 60-80 องศาเซลเซียส ที่มีต่อคุณลักษณะการอบแห้งและคุณภาพของผักแผ่น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการลวกผักตำลึงในน้ำเกลือที่ระดับความเข้มข้นสูงขึ้นและระยะเวลานานขึ้นส่งผลให้ปริมาณความชื้นของผักตำลึงหลักลวกลดลงจึงใช้เวลาในการอบแห้งสั้นลง นอกจากนี้ยังพบว่าการลวกในน้ำเกลือทำให้สีและเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผักที่ผ่าานการลวกในน้ำร้อน สำหรับผลของวิธีการอบแห้ง พบว่าการอบแห้งแบบสุญญากาศช่วยรักษาปริมาณเบต้าแคโรทีนและคลอโรฟิลล์ได้ดีกว่าการอบแห้งแบบลมร้อน เมื่อเปรียบเทียบ ณ อุณหภูมิอบแห้งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม วิธีการอบแห้งไม่ส่งผลต่อเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ผักตำลึงแผ่นอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
Subject : Drying. Food -- Drying. Snack foods. การอบแห้ง. ผัก -- การอบแห้ง. อาหารว่าง.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2031
English Title : Effect of multiple pass system on cassava starch separation efficiency
Author : พิพัฒน์ ปัทมราชวิเชียร
Source : วิทยานิพนธ์. (2007) 185 หน้า
Abstract : Hydrocyclone is an alternative solid-liquid separator to replace centrifuge separator in cassava starch production process. An advantage of a hydrocyclone is that it has no moving part that may be abrased by solid particles resulting in a reduction of the separation efficiency. However, some misplaced particles flows out with water at the overflow of a hydrocyclone. This research thus aimed to reduce the starch loss in the separation process by using multiple pass system to recollect the starch loss in the separation process by using multiple pass system to recollect the misplaced particles in the overflowing fluid to increase the separation efficiency ; hence, decreasing the starch loss. A conventional hydrocyclone and multiple pass hydrocyclone with a diameter of 3.0 centimeter were designed base on Bradley's geometry, which is suitable for a starch-water separation application. Three operating parameters were varied in this study to compare the conventional and multiple pass systems. Experiments were performed at three levels of pressure drop (i.e., 2, 4, and 6 kg/cm²) ; two levels of starch slurry concentrations (i.e., 11 and 20 % w/w) ; five recycling ratios (i.e., 0, 0.25, 0.5, 0.75 and 1.00). Percent Recovery (%R), percent split (%Rv), cut size diameter (D50), and sharpness of separation (I) were determined to evaluate the separation efficiency. The experimental results showed that there was insignificant difference in the separation efficiency between the conventional hydrocyclone and the multiple pass system. In the case of process efficiency, multiple pass system can reduce % starch loss in concentration process. The highest separation efficiency of the multiple pass system was at high pressure drop, low feed concentration and high recycling ratio.
ในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังจำเป็นต้องมีการเพิ่มความเข้มข้นของน้ำแป้งโดยการเหวี่ยงแยกอนุภาคแป้งออกจากน้ำ โดยส่วนใหญ่มักใช้เครื่องเหวี่ยงแยก (Centrifuge separator) ซึ่งส่วนที่เคลื่อนที่ของเครื่องเหวี่ยงแยกนั้นจะเสียดสีกับอนุภาคแป้งทำให้เกิดการสึกกร่อนและทำให้ประสิทธิภาพในการคัดแยกลดลง ดังนั้นไฮโดรไซโคลนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อทดแทนการใช้เครื่องเหวี่ยงแยก แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมายังพบว่ามีอนุภาคแป้งที่ปนไปกัน้ำที่ได้จากกระบวนการเหวี่ยงแยก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณแป้งที่สูญเสียไปในกระบวนการคัดแยกของไฮโดไซฌคลนโดยใช้ระบบน้ำวนกลับเพื่อนำน้ำเสียจากกระวนการคัดแยกที่มีแป้งเจือปนอยู่กับมาผสมกับน้ำแป้งที่ป้อนเข้าเครื่องไฮโดรไซโคลนและทำการเปรียบเทียบผลของการใช้ไฮโดรไซโคลนแบบดั้งเดิมและใช้น้ำวนกลับจากกระบวนการคัดแยกแป้ง โดยงานวิจัยน้กำหนดตัวแปรที่ทำการศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนที่ความเข้มข้นของน้ำแป้งร้อยละ 11 และ 20 โดยน้ำหนัก ความดันลด 2, 4 และ 6 กิโลกรัมต่อตามรางเซนติเมตร และอัตราส่วนน้ำวนกลับ 0, 0.25, 0.5, 0.75 และ 1.0 โดยวัดประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนจาก Percent Recovery (%R), percent split (%Rv), และจุดตัด (D50), จากการทดลองพบว่าประสิทธิ-ภาพขอไฮโดรไซโคลนแบบเดิมไม่แตกต่างกับของระบบน้ำวนกลับเมื่อกำหนดให้ความเข้มข้นป้อนเข้าเครื่องไฮโดรไซโคลนเท่ากัน แต่เมื่อมองภาพรวมของระบบพบว่าระบบน้ำวนกลับสามารถลดปริมาณแป้งที่สูญเสียไปกับน้ำเสีย โดยระะบน้ำวนกลับจะมีประสิทธิภาพสูงที่ความดันลดสูง ความเข้มข้นของน้ำแป้งป้อนเข้าต่ำและอัตราส่วนน้ำวนกลับสูง.
Subject : Hydrocyclone. Tapioca starch. ไฮโดรไซโคลน. แป้งมันสำปะหลัง.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1747
Author : พัชรพร องค์สรณะคมกุล
Source : เส้นทางเศรษฐี 24, 436 (ม.ค.2562) 46-47
Abstract : กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรกลิ่นฉุน รสชาติแสบร้อน นิยมนำมาใช้ปรับปรุงแต่งอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ ปัจจุบันมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆอาทิ กระเทียมเสริมอาหาร กระเทียมสกัดผง สารสกัดน้ำมันกระเทียม กระเทียมดองและกระเทียมบ่มดำ กระเทียมขาวหรือกระเทียมโทนที่ผ่านกระบวนการบ่มโดยใช้อุณหภูมิความชื้น และเวลา ซึ่งเวลาในการบ่มคือ 90 วันและ 1ปี กระเทียมบ่มดำ เป็นวิธีการลดซัลเฟอร์และกำมะถันในกระเทียมทำให้สารอลีซีนลดน้อยลงแปรเปลี่ยนสภาพเป็นสาร SAC ทำให้กระเทียมดำมีปริมาณสาร SAC มากกว่ากระเทียมขาวถึง 13 เท่า.
Subject : กระเทียมดำ. กระเทียมดำ -- ผลิตภัณฑ์. กระเทียมดำ -- การแปรรูป.